วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

ดีวีดี

ดีวีดี DVD (DIGITAL VERSATILE DISC)







ที่มาของระบบ ดีวีดี
เป็นผลพวงของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของสื่อข้อมูลภาพและเสียงที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ หรือ OPTICAL DISC โดยมีจุดมุ่งหมายของการพัฒนาเป็นสื่อเพื่อการบันเทิงเกี่ยวกับภาพและเสียงที่เราเรียกกันว่า DVD-VIDEO โดยแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ DVD VIDEO เพื่อให้ความบันเทิงภายในครอบครัว กัน DVD-ROM ซึ่งอยู่ในรูปของมัลติมิเดีย (MULTI MEDIA) ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งได้พัฒนาเป็น DVD-RW ต่อมา จากความร่วมมือ และพัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัท ฟิลลิปส์ แห่ง Naterland และบริษัท SONY ผลิตเครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์



ภาพแสดงกล่องบรรจุDVDที่มีความแข็งแรง ซึ่งปัจจุบันก็ราคาไม่แพงหาซื้อได้ง่ายสำหรับประเทศเราโซน 3





โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทดแทนแผ่นเสียงและเทปซึ่งมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการไม่ว่า จะเป็นด้านคุณภาพของเสียงที่ไม่คงทนรวมทั้งอายุการใช้งานของเครื่องเล่น เริ่มผลิตและวางจำหน่าย ครั้งแรก
ปี 1980 หลังจากนั้นอีก 2 ปี จึงพัฒนาเป็นเครื่องเล่นคอมแพคดิสก์คุณภาพ ด้านเสียงมีพื้นฐานเท่ากับใช้ระบบ PCM 2 แชนแนล (DIGITAL SOUND) ในปี 1985 บริษัท SONY และ PHILIPS ได้เริ่มผลิตและวางจำหน่าย CD-ROM เป็นเทคโนโลยีใหม่ เป็นแผ่นซอฟต์แวร์ บันทึกข้อมูลดิจิตอลภาพนิ่งต่าง ๆ กราฟฟิก อักษร เสียงในระบบดิจิตอลใกล้เคียงคอมแพคดิกส์ อยู่ในรูปสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีตัวอักษรบรรยายพร้อมคำอธิบายเรียกว่าสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์และพัฒนามาเป็นเกมส์อิเล็กทรอนิกส์ภายหลังซึ่งอยู่ในรูป CD-ROM (COMPACT DISC READ ONLY MEMORY) จะนำเข้าไปอยู่ในกลุ่มของผู้ใช้ตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยครอบคลุมกลุ่มผู้บริโภคระดับสูงและระดับกลางในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดนี้การพัฒนาเกี่ยวกับข้อมูลแสง เพื่องาน 3 ด้าน ด้วยกันได้แก่
1. เพื่อความบันเทิงเสียงอย่างเดียว
2. เพื่อความบันเทิงด้านภาพพร้อมเสียง
3. ใช้เป็นหน่วยบันทึกความจำข้อมูลดิจิตอลสำหรับคอมพิวเตอร์
ลักษณะแผ่น DVD ของจริงที่มีลักษณะ เท่ากันกับแผ่น VCD และได้รับความนิยมสูง










ความพยายามในการพัฒนาการบันทึกภาพอะนาลอกพร้อมกับระบบเสียงในรูปของสัญญาณดิจิตอลครั้งแรกในปี ค.ศ. 1987 โดยบริษัท ฟิลลิปส์ โดยใช้คำว่าผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ครึ่งนอกบันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมระบบดิจิตอลลงไปเป็นเวลา 2 นาที ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานของ CDV ในปี ค.ศ. 1988 หลังจากที่ CDV ออกวางจำหน่าย บริษัท SONY และ PHILIPS ได้ผลิต CD-I (DOMPACT DISC INTERACTIVE) คุณสมบัติหลังคือเป็นสื่อความสำเร็จรูป ตัวอักษรกราฟฟิกภาพนิ่งต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาต่าง ๆ เช่น สารานุกรมกีฬา ความรู้สำหรับเด็กโดยมีความสามารถบรรจุภาพนิ่ง ได้สูงสุด 20000 ภาพหลังจากนั้นอีก 1 ปี บริษัท SONY บริษัท PHILIPS และบริษัท MATSUSHITA ได้พัฒนารูปแบบ และปรับปรุง CD-I ให้มีความสามารถเล่นภาพจริงเคลื่อนไหวได้สูงสุด 65 นาที โดยใช้เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลภาพดิจิตอลแบบ DCT (DISCRETE COSINETRANSFORM) ซึ่งจะได้คุณภาพใกล้เคียง ระหว่าง VHS และ S-VHS ระบบเสียงอยู่ในระดับปานกลาง
ในปี ค.ศ.1991บริษัท PHILIPSได้ปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องเล่น CD-1 ในรูปแบบ ดังนี้
1.พัฒนาเครื่องเล่น CD-I ที่สามารถเล่นภาพเคลื่อนไหวได้ภาพแบบเต็มจอโดยแผ่นจะมีการบันทึกภาพดิจิตอลที่มี ALGORITHM ระบบบีบอัดข้อมูลแบบ DCT เรียกแผ่นว่า CD-I VIDEO
2.พัฒนาเครื่องเล่น CD-I ให้สามารถเล่นกับ PHOTO-CD ได้
3.พัฒนาเครื่องเล่น CD-I ให้สามารถเล่นกับแผ่น CD-GRAPHIC ได้
พัฒนาแผ่น CD-I ให้สามารถนำไปใช้เล่นกับเครื่องเล่น CD เสียงได้ โดยจะได้ยินเสียงที่บันทึกไว้เท่านั้น แต่เมื่อนำแผ่นไปเล่นกับเครื่องเล่น CD-I READY จะได้ยินเสียงและภาพพร้อมกัน
ตารางข้อมูลการพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีแสงเลเซอร์
ชื่อย่อ
ชื่อเต็ม
ขนาดแผ่น
ข้อมูลบันทึก
LD/LV


CD


CD-ROM


CD-VIDEO


CD-G


CD-I



CD-ROM XA

CD-READY

ชื่อย่อ
LASER VISION DISC


COMPACT DISK


COMPACT DISC READ ONLY
MEMORY

COMPACT DISC VIDEO


COMPACT DISC VIDEO GRATHIC

COMPACT DISC INTERATIVE
BRIEDGE

COMPACT DISC READ ONLY
MEMORY EXTENDED

COMPACT DISC
INTERACTIVE READ
ชื่อเต็ม
20-30 ซม.


8 , 12 ซม.


8 , 12 ซม.


12 ซ.ม.


8 , 12 ซม.


12 ซม.



12 ซม.


12 ซม.

ขนาดแผ่น
ภาพระบบอนาลอก FM ระบบเสียงอะนาลอก FM2 แชนแนล Stereo หรือเสียงดิจิตอล PCM2 CH
(DIGITAL SOUND) ใช้กับเครื่องเล่นสำหรับบ้าน ให้ระบบเสียงดิจิตอลพื้นฐาน PCM 2 แชนแนล
เป็นข้อมูลดิจิตอล , ภาพนิ่ง , ภาพนิ่ง , กราฟฟิก , ตัวอักษร , เสียงดิจิตอล PCM ในรูปแบบสารานุกรมโปรแกรมซอฟต์แวร์ สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เกมส์ ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งจะต้องมีเครื่องเล่นบรรจุภายใน หรือแยกต่างหาก (CD-ROM DRIVE) ภาพอะนาลอก FM พร้อมระบบดิจิตอล 20 นาที ใช้เล่นกับเครื่องมัลติเซอร์ดิสก์ เป็นแผ่น CD-DA ที่มีการเข้ารหัสตัวอักษร , กราฟฟิก , ภาพนิ่ง บันทึกลงไปในส่วนรหัสย่อย ใช้กับเครื่องเล่น CD ที่มีภาพถอดรหัสกราฟฟิค , ภาพนิ่ง , กราฟฟิคต่าง ๆ ตัวอักษร เสียงดิจิตอล AD PCM ในรูปแบบสารานุกรมสิ่งพิมพ์อีเล็กทรอนิกส์ , เกมส์ , ใช่เล่นเฉพาะเครื่องเล่น CD-1 ภาพนิ่งกราฟฟิค , ภาพเคลื่อนไหว , ตัวอักษร , เสียงดิจิตอล AD PCM

ข้อมูลบันทึก
CD-BRIEDGE





CD-I VIDEO





VCD



MMCD




MMCD



DVD
COMPACT DISC
INTERACTIVE BRIEDGE





COMPACT DISC
INTERACTIVE VIDEO




VIDEO COMPACT DISC



MULTIMEDIA COMPACT DISC



MPEG LAYER 3



DIGITAL VERSSATILE DISC
12 ซม.






12 ซม.





12 ซม.



12 ซม.




12 ซม.



12 ซม.

ใช้เป็นโปรแกรมซอฟแวร์ , สารานุกรมสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ , เกมส์ , ใช้ได้เฉพาะเครื่องเล่น CD-ROM XA DRIVE เป็นเทคโนโลยีผสมระหว่าง CD-DA กับ CD-I บันทึกด้วยตัวอักษร , กราฟฟิก , ภาพนิ่งเสียง สามารถใช้เล่นกับเครื่องเล่น CD-DA โดยเฉพาะเสียง
หากใช้เล่นกับเครื่องเล่น CD-I จะได้ยินทั้งเสียงและภาพนิ่ง , ตัวอักษรปรากฏที่จอโทรทัศน์ที่ต่ออยู่บันทึกข้อมูลเช่นเดียวกับ CD-I สามารถใช้ได้กับเครื่องเล่น CD-I และ CD-ROM XA DRIVE บันทึกภาพและเสียงดิจิตอล AD PCM กราฟฟิก,ตัวอักษร,ภาพนิ่งเล่นกับเครื่องเล่น CD-I ที่มีตลับ FMV (Full MOTION VIDEO) ภาพเคลื่อนไหวอะนาล็อกพร้อมเสียงเล่นได้เฉพาะเครื่องเล่น VIDEO CD เล่นแผ่น VCD คุณสมบัติเหมือนกับ VIDEO CD แต่มีความชัดเจนสูงกว่าเล่นได้เฉพาะเครื่องเล่นที่มีโปรแกรมมา ปัจจุบันเรียกว่า SVCD คุณสมบัติใช้บันทึกข้อมูลด้านมีการเข้ารหัสในการบันทึกข้อมูลสูงเพื่อคุณสมบัติเก็บบันทึกเพลง 100 กว่าเพลงขึ้นไปคุณภาพเสียงเทียบเท่า CD ธรรมดา PCM 2 แชนแนล เล่นได้เฉพาะเครื่องที่มีโปรแกรมข้อมูลมาหากมีภาพประกอบเรียกว่า MP3-OKO มี 2 รูปแบบได้แก่ DVD-VIDEO บันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงนาน 133 นาทีต่อชั้นข้อมูลแลพ DVD-ROM DRIVE ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคล





จากการพัฒนาของบริษัทฟิลลิปส์ ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่จะลดขนาดแผ่น LD จากแผ่น 30 ซม. ให้เหลือ 12 ซม. เล็กเท่าแผ่น CD แต่ยังใช้เทคโนโลยีเดิมของ LD โดยบันทึกภาพอะนาลอก FM พร้อม เสียงดิจิตอล EFM ลงไปในส่วนนอกของแผ่น CD ในครึ่งในแผ่นจะบันทึกเฉพาะเสียงดิจิตอล EFM ลงไปเป็นเวลา 20 นาที เรียกแผ่นนี้ว่า COMPACT DISC VIDEO หรือ CDV









มุมหนึ่งของช่างในการซ่อมเครื่องเล่น DVD

ต้นแบบของฟิลลิปส์เมื่อวางจำหน่ายในปี 1988 จึงเกิดปัญหาเนื่องจาก บันทึกภาพ 5 นาทีเท่านั้น แต่แผ่นดิสก์จะต้องหมุนให้ได้ 10 เมตรต่อวินาที ต่างกับแผ่น CD ทั่วไปที่ใช้ความเร็ว 1.2 เมตรต่อวินาที ฉะนั้นเมื่อเล่นกับภาพจึงเกิดการสูญเสียเนื้อที่ของข้อมูลความยาวของเส้นแทร๊กในแผ่น CD (เส้นแทร๊กข้อมูล ในแผ่น CD มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร) การอ่านภาพใน 5 นาทีจะสูญเสียข้อมูลแทร๊กประมาณ 3 กิโลเมตร
จากปัญหาของบริษัท PHILIPS ได้พบจึงเกิดความพยายามคิดแก้ด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปสัญญาณเคลื่อนไหวให้เป็นสัญญาณภาพดิจิตอล โดยให้จัดตั้งองค์กรกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ด้านภาพเคลื่อนไหว เพื่อที่จะคิดค้นกรรมวิธีในการบีบอัดข้อมูลภาพดิจิตอลให้สามารถบันทึกลงในแผ่น CD และใช้อัตราความเร็ว 1.2 เมตร/วินาที เพื่อให้แผ่น CD สามารถเล่นได้นานขึ้น เรียกองค์กรกลุ่มนี้ว่า....MOVING PICTURE EXPERTS GROUP หรือมาตรฐานการเข้ารหัส MPEG
จากนั้นในปี 1993 บริษัท PHILIPS บริษัท JVC ได้พัฒนาเทคโนโลยี CD-ROM กับ CD-I มาเป็น CD-ROM XA เป็นเทคโนโลยีในภาพจริงเคลื่อนไหวเต็มจอ โดยมีความชัดเทียบเท่า เทป VHS บรรจุข้อมูลในแผ่นขนาดเท่าแผ่น CD เล่นได้สูงสุด 74 วินาที มีรายละเอียดข้อเส้นภาพเมื่อทำสแกน 360 x 240 พิกเซล เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลดิจิตอลตามมาตรฐานของกลุ่ม ISO ร่วมกับ IEC เรียกว่า MPEG1(MOTIONPICTURE EXPERTS GROUP) เรียกแผ่นที่บันทึกข้อมูลที่ว่า VIDEO COMPACT DISC หรือ VIDEO CD เรียกกันย่อ ๆ ว่าวีซีดี(VCD) บริษัท JVC เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คาราโอเกะ ซีดี (KARAOKE CD)

MPEG คืออะไร
ในปี 1960 องค์กรย่อย 2 องค์กร ได้แก่ ISO (International Standard Organization) และ IEC (International Electronic Standard Conference) ได้ร่วมกันจัดเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภาพเคลื่อนไหว เพื่อทำงานเกี่ยวกับด้านกำหนดมาตรฐานของเทคนิคการบีบ อัดข้อมูลดิจิตอล เรียกว่า MOVING PICTURE EXPERTS GROUP เรียกย่อกันว่า “เอ็มเพ็ค” MPEG โดยกลุ่มนี้จะมุ่งทำงานศึกษาเทคนิคการบีบอัดข้อมูลเพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลลงไป ในสื่อที่มีพื้นที่ความจุจำกัด ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยมีหลักการทำงานพื้นฐานที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ของข้อมูลร่วมทางช่องว่าง (Spatial correlation)
2. ความสัมพันธ์ของข้อมูลร่วมทางด้านเวลา (TIME correlation)

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี MPEG 1
ในปี 1988 บริษัท SONY และ PHILISP ได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีแผ่น CD-I ให้สามารถบันทึกข้อมูลภาพนิ่งต่าง ๆ กราฟฟิก ตัวอักษรและเสียงที่มีคุณภาพเท่ากับแผ่น CD โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่องานด้านการศึกษาต่าง ๆ สามารถบันทึกภาพดิจิตอลเคลื่อนไหวที่มีคุณภาพเกือบเทียบเท่าเทป VHS และ S-VHS คุณภาพเสียงอยู่ในระดับดี โดยได้นำเอาเทคนิคการบีบอัดข้อมูลภาพแบบมาตรฐาน MPEG 1 เรียกว่าแผ่นชนิดนี้ว่า CD-I VIDEO

สู่เทคโนโลยี วีซีดี-ดีวีดี
ในปี 1993 บริษัท PHILISP และ JVC ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณสมบัติของ CD-ROM XA สามารถบันทึกภาพดิจิตอลระบบการบีบอัดข้อมูลตามมาตรฐาน MPEG ให้ภาพเหมือนจริงเคลื่อนไหวเต็มจอด้วยรายละเอียดของจุดภาพสแกน 352 x 240 พิกเซล (NTSC) เล่นได้นานสูงสุด 74 นาที โดยใช้เทคนิคการบีบอัดข้อมูลภาพเสียงใช้อัตราเคลื่อนไหวที่บิดต่ำลงใกล้เคียง CD เพลงธรรมดา โดยใช้อัตราบิดของภาพดิจิตอล อยู่ที่ประมาณ 1.15 เมกะบิต/วินาที
และเสียงที่ 224 กิโลบิต/วินาที บันทึกลง CD ซึ่งมีความยาวของเส้นแทรกอยู่ประมาณ 5.3 กิโลเมตรใช้เวลาอ่านนานถึง 74 นาที

IC MPEG 2 จะมีการใช้หลายยี่ห้อ แต่ยี่ห้อ SUNPLUS ก็ยังได้รับความนิยมไม่น้อย เห็นขาเยอะ ๆ แบบนี้ต้องมาดูวิธีถอด ด้วยตนเอง นะครับรับรองสะใจ














เวลาซื้อแผ่น DVD ไม่ว่าจะเป็น Formath 9 หรือ Formath 5 ก็ขอให้ดูการแจ้งโซนเอาไว้ก่อนเป็นดีนะครับสำหรับบ้านเราแล้ว ต้องเป็นโซน 3 ดังรูป


















ข้อกำหนดคุณลักษณะจำเพาะ
CD
VCD
DVD
ระบบการบันทึกและการอ่าน
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแผ่น
โครงสร้างของแผ่น
ความหนา ของแผ่น
จำนวนด้านการใช้งาน
เวลาเล่นสูงสุดต่อชั้น
จำนวนชั้นข้อมูล
ความยาวคลื่นเลเซอร์
ความกว้างของพิต
ความยาวพิต
ความห่างระหว่างพิตกับแลนด์
ระยะห่างระหว่าง แทร๊ก
ระบบการหมุนแผ่น
ระบบการบีบอัดข้อมูลภาพที่
ใช้บันทึก
ระบบบีบอัดข้อมูลเสียง
ระบบเสียง


ระบบคำบรรยาย

ระบบคำบรรยาย
ความละเอียด
แสงเซเลอร์
8,12 เซนติเมตร
ชิ้นเดียว
1.2 มิลลิเมตร
1 ด้าน
74 นาที
1 ชั้น
780 นาโนเมตร
0.5 ไมโครเมตร
0.9-3.3 ไมโครเมตร
0.11 ไมโครเมตร
1.6 ไมโครเมตร
CLV1.2-1.4 m/s-
-

PCM
สเตอริโอ 2 CH


-

-

แสงเซเลอร์
8,12 เซนติเมตร
ชิ้นเดียว
1.2 มิลลิเมตร
1 ด้าน
74 นาที
1 ชั้น
780 นาโนเมตร
0.5 ไมโครเมตร
0.9-3.3 ไมโครเมตร
0.11 ไมโครเมตร
1.6 ไมโครเมตร
CLV1.2+1.4 m/s-

sMpeg 1
MPEG LAYER 2
สเตอริโอ 2 CH


ใช้เครื่องถอดรหัสต่อ
ภายนอก
240
352 x 288

แสงเลเซอร์
12 เซนติเมตร
2 ชิ้นประกบกัน
1.2 มิลลิเมตร (06x2)
1 หรือ 2 ด้าน
ชั้นที่113นาทีชั้นที่2133นาที
1 หรือ 2 ชั้น/ด้าน
650/635 นาโนเมตร
0.25 ไมโครเมตร
0.4-1.87 ไมโครเมตร
0.05 ไมโครเมตร
0.74 ไมโครเมตร
CLV 4 m/s

Mpeg 2
MPEG,LPCM,AC-3
สเตอริโอ 2 CH ระบบเสียง
รอบทิศทาง AC-3 หรือโปรโลจิกร่องเสียงสูงสุด 8 CH
มีระบบถอดรหัสบรรจุพายในได้ 32 ภาษา บรรยายภาษาพูด
500
720 x 480








การแบ่งโซนของ DVD
การกำหนดโซน หรือการแบ่งเขตของการจำหน่ายแผ่น DVD โดยจะมีองค์กรที่ได้กำหนดโซน (ZONE) เอาไว้เป็นที่เรียบร้อยเพื่อป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ให้มีการละเมิดต่อสินค้าหรือทรัพย์สินทางปัญญานั้น ๆ แต่ทั้งนี้ ระบบ โซนต่าง ๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นก็มีปัญหา สำหรับเพื่อนช่างทั้งหลาย เพราะเรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องของทฤษฎีสิ่งที่เราต้องการอยากรู้ก็เหมือนกับลูกค้าที่ต้องการอยากรู้เช่นกัน ข้อมูลต่าง ๆ เราก็ต้องมาเรียนรู้เอาไว้เพื่อเอาไว้เป็นข้อมูลอ้างอิงเวลาคุยกับลูกค้าลองคิดดูซิว่า ขนาดข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องเล่น ดีวีดี นายช่างยังไม่รู้เลย แล้วจะซ่อมเครื่องของลูกค้าได้อย่างไร











การกำหนดโซนของทั่วโลกได้กำหนดเอาไว้ทั้งหมด 6 โซน และจะมีโซนพิเศษ ที่ปัจจุบันเป็นที่ต้องการมากที่สุดก็คือ ALL ZONE ซึ่งในความเป็นจริงแล้วในเรื่องลิขสิทธิ์จะไม่ให้มีเครื่องเล่นที่เป็นระบบ ALL ZONE แต่อย่างว่าละครับเพื่อธุรกิจ การค้าการขายตอนทำออกมาก็เป็นโซนบังคับ แต่ตอนขายก็มีแผ่นออกมาให้เป็นระบบ ALL ZONE อยู่ดี จนในที่สุดถ้าใครไม่ทำ ALL ZONE ในเครื่องของแต่ละยี่ห้อรับรองท่านก็ไม่ได้ขายเครื่องแน่นอน การกำหนดโซนแต่ละโซนมีขอบเขตดังต่อไปนี้
1. โซนที่ 1 จะจัดอยู่ที่ทวีป อเมริกาเหนือ และแคนาดา
2. โซนที่ 2 จะอยู่ในโซนยุโรป ตะวันออกกลาง รวมไปถึงญี่ปุ่น
3. โซนที่ 3 เป็นกลุ่มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบไปด้วย ไทย เกาหลีใต้ ใต้หวัน และ ฮ่องกง
4. โซนที่ 4 เป็นกลุ่มของ อเมริกาใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
5. โซนที่ 5 ได้แก่ทวีปอินเดีย และ รัสเซีย
6. โซนที่ 6 ประเทศจีน ประเทศมหาอำนาจในอนาคต
จากจุดที่เราเห็นทั้งหมด 6 โซน ก็จะเห็นถึงความยุ่งยากอันเนื่องจากการปกป้องลิขสิทธิ์ และสิทธิผลประโยชน์ รวมไปถึงการป้องกันการนำสัญญาณ DVD ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ จะมีการส่งสัญญาณออกมารบกวน ขนาดทำการบันทึกทำให้คุณภาพของสีมีคุณภาพเครื่องเล่นเครื่องเดียวแถมยังเปิดระบบการบันทึกทำให้คุณภาพของสีมีคุณภาพ
แต่ที่ได้กล่าวมาได้มีการผลิตเครื่อง ALL ZONE ออกมาเพื่อสามารถใช้ได้ทุก ๆ โซนในการซื้อเครื่องเล่น DVD ที่ขาดไม่ได้ ท่านจะต้องเลือกซื้อเครื่องที่สามารถเล่นแผ่นไรท์จากคอมพิวเตอร์ได้ เราเรียกว่า DVD-R และ DVD-RW ไม่ว่าเครื่องจะยี่ห้อใดให้ท่านนำแผ่นที่ท่านไรท์มาจากคอมพิวเตอร์ไปทดลองเล่นกับเครื่องที่ท่านต้องการจะซื้อ ซึ่งจะเป็นทางเลือกให้ท่านตัดสินใจได้อีกข้อ 1 ว่า ซื้อมาแล้วใช้งานคุ้มค่ามากที่สุด หวังว่านายช่างทั้งหลายเมื่ออ่านระบบ ZONE เรียบร้อยแล้ว ขอให้นำไปใช้ประโยชน์มากที่สุดนะครับ

ระบบการเลือกใช้แผ่น DVD
ในระบบแผ่น DVD ซึ่งเมื่อก่อน จะมีปัญหาสำหรับเครื่องเล่นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแผ่นปลอม ซึ่งมีฉายาว่า แผ่น DVD5 ความเล่าลือสิ่งเหล่านี้ก็ทำให้วงการแผ่น DVD ที่แถวกองปราบเก่าของเราได้มีการตื่นตัวไม่ว่าแผ่นจะนำมาจากเมืองจีน มาเลเซียหรือพม่า แผ่นเหล่านี้จะมีราคาถูกและจะถูกบันทึกมาในรูป DVD5 ซึ่งบรรดาเซียนทั้งหลายนักเล่นก็พยายามหาแผ่น DVD9 มาครอบครอง
บทความที่ผมกล่าวมานี้ ถ้าเป็นช่างมือใหม่หรือเราไม่เคยทราบบทความมาก่อนพอกล่าวถึงแผ่น DVD5 หรือ DVD9 หมายถึงอะไรก็ยังไม่รู้ไม่สามารถอธิบายคนอื่นฟังได้และที่หนักไปกว่านั้นตัวนายช่างเองยังไม่เคยเล่นสักแผ่น อันนี้ซิ น่าเจ็บใจเป็นอย่างยิ่ง
แต่อย่าตกใจไปเลย อ่านบทความนี้เสร็จแล้วก็สามารถไปคุยกับลูกค้าได้อีกมากมาย...ทีเดียว เรามาดูความหมายของแต่ละแผ่น และการเรียกในการซื้อ เค้ากล่าวกันว่าอย่างไร








DVD5 หมายถึงแผ่น DVD ที่ทำการบันทึกข้อมูลเพียงชั้นเดียวและหน้าเดียวเท่านั้น มีความจุเท่ากับ 4.7 กิกะไบท์ ซึ่งจะมีราคาถูกระบบเสียงไม่ค่อยเป็นสับปะรด หารสชาติไม่ได้ แต่ข้อดีคือ ราคาถูกมาก อย่างน้อย ๆ ก็ชัดกว่า VCD เยอะเลย สังเกตได้ง่าย ๆ แผ่นจะมีลักษณะบาง ๆ เหมือนแผ่น VCD นั้นเอง
DVD9 หมายถึงแผ่น DVD ที่ทำการบันทึกข้อมูล 2 ชั้นในหน้าเดียว สังเกตข้อความที่ผมกล่าวนะครับในหน้าเดียวจะมีการบันทึกไว้ 2 ชั้น ซึ่งจะทำให้ความจุของแผ่น DVD สูงขึ้น 8.5 กิกะไบท์ และอย่างน้อย ๆ เป็นการพิสูจน์ว่าเครื่องเล่น DVD ประเภทราคาถูก จะไม่สามารถอ่านแผ่น DVD9 ได้อย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากจะต้องใช้ความเข้มของลำแสงสูงขึ้นไป เพื่อให้ผ่านชั้นที่ 1 จุดนี้แหล่ะที่บางยี่ห้อ ที่มีชื่อเอามาเป็นจุดขาย ว่ามีคุณภาพดีกว่าเครื่องเล่นราคาถูกนั่นเอง แต่ขอบอกว่า...บ้านเราเน้นของถูกไว้ก่อนครับ เพราะแผ่น DVD9 ราคาก็จะสูงขึ้น แต่ระบบเสียงและระบบภาพต้องขอบอกว่าสุดยอด
DVD 10 หมายถึงแผ่น DVD ที่ทำการบันทึกข้อมูลเพียงชั้นเดียวแต่ทำ 2 หน้า สามารถเก็บความจุได้ 9.4 กิกะไบท์ การเล่นเมื่อครบหน้า 1 แล้ว ก็ต้องเอาแผ่นออกมากลับด้าน เอาหน้าที่ 2 เข้าไป เพื่อเล่นต่อ การเปลี่ยนแผ่นบ่อย ๆ กลับไปกลับมา ทำให้ไม่ได้รับความสะดวก จึงไม่ค่อยเห็น DVD10 ในท้องตลาดทั่วไป
DVD14 หมายถึงแผ่น DVD ที่ทำการบันทึกข้อมูล 2 ชั้นในหน้าที่ 1 และอีกด้านหนึ่งจะบันทึกเพียงชั้นเดียว ความจุจึงได้ 14 กิกะไบท์ แผ่นเหล่านี้จะต้องใช้ การเก็บข้อมูลจำนวนมากส่วนเครื่องเล่นเครื่องอ่าน จะต้องใช้หัวที่ดีเป็นพิเศษ ราคาก็สูงขึ้นตามมาด้วย ส่วนการใช้งานอื่น ๆ ก็เหมือน ๆ กัน โดยทั่วไปมักไม่ค่อยเจอ
DVD18 หมายถึง แผ่น DVD ที่ทำการบันทึกข้อมูลแบบ เต็มพิกัด สุดยอดของแผ่น DVD ที่เป็นลำแสงสีแดงโดยจะบันทึกข้อมูล 2 ชั้นทั้ง 2 ด้าน จึงทำให้ความจุข้อมูลสูงถึง 17 กิกะไบท์ นับว่าสูงมาก โดยทั่วไปในท้องตลาด มักไม่ค่อยพบเจอง่าย ๆ
อย่างน้อย ๆ เราก็ได้ทราบข้อมูลเอาไว้คุยกับลูกค้าหน่อยนะครับ
เป็นอย่างไรบ้างครับเรื่องราวของแผ่น DVD และระบบ โซนของการเล่นของเครื่อง DVD ที่เราจะต้องรู้และนำไปปฏิบัติให้มากที่สุดยังมีบทความบลูเลดิสก์ที่เป็นเนื้อในให้ท่านอ่านอีกในเล่มนี้ ความจุของบลูเลดิสก์เมื่อท่านได้อ่านแล้ว...รับรอง...ท่านจะหนาว...ที่สุดของเทคโนโลยี วันนี้





สู่เทคโนโลยี ดีวีดี
DIGITAL VERSATILE DISC
ข้อมูลทั่วไป DVD
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร
ความหนาของแผ่น 1.2 มิลลิเมตร, 0.6 มิลลิเมตร x 2
ความยาวของคลื่นแสงเลเซอร์ 650 นาโนเมตร
ค่าช่องแสงของเลนส์ (NA) 0.6
ความยาวของพิต (PIT) 0.4-1.8 ไมครอน (ชิ้นเดียว)
0.44-2.05 ไมครอน (2ชิ้น)
ระยะห่างระหว่างแทร๊ก 0.74 ไมครอน
ระบบการหมุน CLV (Constant Linear Velocity)
ระบบการมูเลชั่น 8/16
ข้อมูลการแก้ไขความผิดพราด RS-PC (Read Solomon Product code)
ความจุของข้อมูลการใช้งาน 4.7 กิกะไบต์ (ด้านเดียว 1 ชั้น)
8.5 กิกะไบต์ (ด้านเดียว 2 ชั้น)
9.4 กิกะไบต์ (สองด้าน 1 ชั้น)
19 กิกะไบต์ (สองด้าน 2 ชั้น)
DVD กำเนิดมาจากการผสมผสานด้านเทคโนโลยีรวมกันระหว่าง มัลติมีเดีย คอมแพค ดิสก์ (MMCD) ของค่าย PHILIPS และ SONY กับซุปเปอร์ ออดิโอซีดี (SACD) ของคำ TOSHIBA และค่าย TIME WARNER โดยใช้ชื่อเรียกว่า DVD-VIDEO

ด้วยคุณสมบัติที่สามารถบรรจุข้อมูลบันทึกโดยสามารถเพิ่มชั้นข้อมูลได้ 2 ชั้น ข้อมูลต่อ 1 ด้านและสามารถเล่นได้ถึง 2 ด้าน โดยแต่ละด้านสามารถบันทึกข้อมูลได้ 2 ชั้น รวมเป็น 4 ชั้นข้อมูลต่อ 1 แผ่น สิ่งเหล่านี้เราต้องศึกษา ไว้ให้มาก...

อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องดีวีดี ที่ควรรู้
ในการศึกษาระบบดีวีดีเราจำเป็นจะต้องเรียนรู้ อุปกรณ์สำคัญที่อยู่ในเครื่อง และน่าที่แต่ละตัวที่เราควรรูจักไว้บ้าง เพื่อจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกวิธี แผงบอร์ดที่นำมาให้เพื่อนสมาชิกดูในวันนี้เราจะนำเสนอเป็นดีวีดี LEONA รุ่นDL-519 และของแฟนตาเซีย RC710 มาให้เพื่อนสมาชิกได้รับทราบและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง














1. หน่วยความจำ SD RAM (Random Access Memory)
เป็นการนำโปรแกรมและคำสั่งต่าง ๆ ที่ถูกอ่านขึ้นมาจากระบบ CPU จะส่งมาพักไว้ที่หน่วยความจำ SDRAM ในหน่วยความจำจะมีข้อดีสามารถทำงานได้เร็วการเลือกใช้คำสั่งแล้วโปรแกรมจึงทำงานได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่อยู่ใน SDRAM จะเป็นการทำงานแบบชั่วคราว หากปิดเครื่อง...ข้อมูลก็จะหายทันที
2. หน่วยความจำ Flash ROM
จะเป็นหน่วยความจำแบบถาวรที่สามารถ อ่านและเขียน ด้วยระบบไฟฟ้าได้แม้ไฟจะได้ข้อมูลต่าง ๆ ก็ยังถูกเก็บไว้ได้อย่างสมบูรณ์ IC Flash Rom จะมีบทบาทที่สำคัญในการที่จะทำให้เครื่องมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันเนื่องจากข้อมูลในการถอดรหัส ในรูปแบบต่าง ๆ และข้อมูล ในการแสดงโลโก้ของแต่ละยี่ห้อและกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ จะอยู่ใน IC ตัวนี้
หาก IC ตัวนี้ ล้มเหลวก็เป็นอันว่าเครื่องจะไม่ทำงาน...งานนี้ก็ต้องติดตามผลงานของ อ.สุวิทย์ เจ้าของ MS อิเล็กทรอนิกส์ที่จะหาเครื่องมา Flash เครื่อง DVD เหล่านี้ต่อไป








IC Flash Memory หรือเราเรียกว่า IC EPROM นั้นเอง ความจริงแล้วเครื่องเล่น DVD ก็มีการใช้ อีพรอมตัวใหญ่เช่นกัน แต่รุ่นแรก ๆ อกกมาเป็นรุ่นตัวบาง วางติดกับปริ้นท์ จึงทำให้การก๊อปปี้ข้อมูลลำบาก แต่เมื่อรุ่นใหม่เข้ามาก็จะเห็นว่าเป็นบอดี้ตัวใหญ่สามารถเข้าเครื่องก๊อปปี้ข้อมูลได้สบาย ๆ
39VF080-70
เบอร์ที่เห็นจะเป็นแบบตัวบาง นำแปะลงไปในที่แผ่นปริ้นท์และยังเป็น IC Eprom เหมือน เดิม การทำจะเข้าเครื่องก๊อปปี้ข้อมูลจะต้องมีอะแด้ปเตอร์ต่อขึ้นมาก่อน









3. IC MPEG 2 หรือ VDO Drive
เป็น IC ตัวใหญ่ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดโดยจะรวมหลาย ๆ หน้าที่ เข้ามาอยู่ในตัวเดียวกัน ซึ่ง IC ตัวนี้จะมีบทบาทที่สำคัญหลาย ๆ หน้าที่ เช่น
3.1 เป็นชุดเซอร์โวควบคุมเรื่องถาดเข้าออกในส่วนของโหลดดิ้ง
3.2 เป็นชุดถอดรหัสของระบบภาพ ทั้ง MPEG 1 และ MPEG 2
3.3 เป็นชุดซัฟ CPU เพื่อใช้ในการแสดงผล ที่หน้าจอ
3.4 เป็นซัฟ CPU เพื่อใช้ในการรับคำสั่ง
3.5 เป็นวงจรถอดรหัส ระบบเสียง
IC MPEG 2 ที่อยู่ในท้องตลาดมีมากมายหลายเบอร์แต่ ณ ปัจจุบันที่เริ่มมีการเสียหายค่อนข้างสูงผมจะนำมาเสนอให้เพื่อนสมาชิกได้รับทราบและแก้ไขปัญหากันอย่างถูกต้องดังต่อไปนี้










IC ตัวนี้เป็นของ MTX เบอร์ MT1379 เป็น IC ที่นิยมสูงโดยส่วนใหญ่เครื่องเล่น DVD ในบ้านเราชอบใช้ ซึ่งจะเห็นอยู่ในหลายยี่ห้อไม่ว่าจะเป็นลีโอน่า หรือมิกิซุย AJ เป็นต้น แรงดันไฟที่เข้ามาเลี้ยงก็จะอยู่ในเกณฑ์ต่ำระหว่าง 2.5 ถึง 3.3 โวลย์ ซึ่งจะทำให้ปัญหาเครื่องร้อนเกิดขึ้นน้อย IC MPEG2 ของตัวนี้บรรจุข้อมูลและลักษณะการทำงานไว้หลายประการ ดังตัวอย่างดังนี้








1. เป็น IC ถอดรหัส MPEG1 และ MPEG2
2. สามารถอ่านไฟล์ที่เป็นรูปภาพ JPEG
3. สามารถถอดรหัสเสียงระบบดิจิตอลเช่น AC3 DTS และระบบ DVD AUDIO
4. มีระบบ PROGRESSIVE SCAN ภายในตัว
5. มีระบบควบคุมสัญญาณรหัสโทรทัศน์
6. เป็นระบบไมโครโปรเซตเซอร์
7. สามารถเลือกหน่วยความจำ RAM ทั้งภายในและภายนอก
8. มีระบบกำเนิดความถี่ภายในตัว
9. มีระบบตัดสัญญาณรบกวนในระบบภาพมีประสิทธิภาพสูง
10. มีวงจรระบบควบคุมเซอร์ไวภายในตัว
11. เป็น IC ที่มีคุณภาพและได้รับความนิยมสูง

IC เบอร์ ES6628F
เป็น IC MPEG อีกเบอร์หนึ่งที่ได้รับความนิยมยกตัวอย่างของยี่ห้อ UPT ซึ่งสามารถทำงานได้ดีและออกมาสู่ท้องตลาดจำนวนมาก IC เบอร์นี้ ยังสามารถปล่อย PROGRESSIVE SCAN ออกมาได้อย่างต่อเนื่องด้วยนะครับ
SUNPLUS เบอร์ SPE8200A
เป็น IC ที่ได้รับความนิยมขึ้นมาสูงมากปัจจุบันหลาย ๆ ยี่ห้อ เช่น LEONA FANTASIA UPT และยี่ห้อชั้นนำ ได้นำออกมาใช้เป็นจำนวนมากแทบจะเรียกว่ามากกว่าเบอร์อื่นซะด้วยซ้ำลูกเล่นต่าง ๆ มีครบถ้วนสมบูรณ์แบบไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง หรือ MP3
















4.ไอซีเซอร์โว ODC
การทำงานเป็น IC ที่คอยควบคุมการทำงานของระบบเซอร์โวไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการควบคุมมอเตอร์หมุนแผ่นการควบคุมลำแสงเลเซอร์และการควบคุม การขยายสัญญาณ RF สิ่งเหล่านี้จะอยู่ใน IC ของระบบภาพ ODC ไว้ทั้งหมดเราเรียกง่าย ๆ เราเรียกว่าระบบเซอร์โวในการทำงานของระบบนี้ยังคงต้องใช้ความถี่นาฬิกา 16.9 MHZ อยู่เหมือนเดิมเรามาดู หน้าตาของ IC เซอร์โวในรูปแบบต่าง ๆ กันดีกว่า
IC เบอร์ MT1336E










เป็น IC ของบริษัท Media Tect หรือเรียกย่อ ๆ ว่า MTK นั้นเองเจ้า IC เบอร์นี้ส่วนใหญ่เราจะนำไปคู่กันกับ MT1379 ยังกับว่าเป็นความเหนียวกับส้มตำเลยทีเดียว IC เซอร์โวเบอร์นี้ได้มีความไว้ใจต่อวงการเนื่องจากใช้งานไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากแผ่นก๊อปปี้แต่ละค่าออกมาเจ้าเบอร์นี้อ่านได้แทบทั้งหมด แต่ขอบอก เพื่อนช่างให้รับทราบว่า IC เบอร์นี้ที่เมืองจันเข้าจะใช้เบอร์ OP2002E แทนหากเพื่อนสมาชิกเจอรับทราบว่าเป็นอันเดียวกัน

เป็น IC ที่ใช้ควบคุมการทำงานของระบบหัวอ่านในส่วนที่เป็นเซอร์โวแทบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นโฟกัสคอยล์ แทร๊กกิ้ง คอยล์ แม้กระทั่งมอเตอร์สเลด IC DRIVE เซอร์โวก็จะเป็นพระเอกให้และมีผลค่อการทำงานหลายๆส่วนแต่หลักการก็จะเหมือนกับ VCD มีคำสั่งแปลก ๆ ไม่กี่ตัว....ต้องติดตามกันเป็นประจำบ่อย ๆ5. IC DRIVE (BA5954)








ระบบสัญญาณภาพที่ช่างควรรู้
ในระบบการปล่อยภาพในระบบ DVD จะต้องมีลูกเล่นในการใช้งานอยู่ในระบบหนึ่ง ปกติทั่วๆ ไป เราจะคุ้นเคยเกี่ยวกับสัญญาณภาพธรรมดาที่เราใช้งานกันทั่วๆ ไป แต่เมื่อได้มีการพัฒนาในระบบใหม่ขึ้นมา เราเป็นช่างก็ต้องควรรู้ให้มาก ไม่เช่นนั้นจะขี้โม้ไม่ได้ งานนี้ไม่ได้โม้แบบ สมรักษ์ คำสิงห์ แต่จะโม้เหมือน อ.ปรีชา เจ้าของฉายาไอ้แมงโม้ (เพื่อนต่างเว็ปเขาตั้งให้) อย่างว่าแหละคนรู้มากเลยกลายเป็นคนขี้โม้...เป็นเรื่อง ปกติ
มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าผมจะทำการเรียงลำดับของระบบสัญญาณภาพที่ใช้อยู่ปัจจุบันที่มีอยู่ในท้องตลาดเพื่อน ๆ ก็พิจารณาดูเอาส่วนไหนเราไม่เข้าใจเราก็เน้น ๆ
1. สัญญาณทาง RF (ปัจจุบันไม่มีในเครื่อง ดี วี ดี แล้ว)
เป็นสัญญาณภาพที่จัดว่าอยู่ในระดับต่ำสุดเพราะว่าจะนำสัญญาณ VDO ไปแปลงเป็น RF กระจายในอากาศ หรือตามสายไฟแล้วเข้าสู่เครื่องรับ TV เครื่องเก่า แปลงกลับจาก RF เป็น VDO อีกครั้ง แล้วค่อยไปแยกสัญญาณ YC แล้วส่งเข้าสู่หลอดภาพต่อไป
2. สัญญาณทาง VDO (AV)
เป็นสัญญาณภาพที่แพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน เรียกว่าเป็นสัญญาณถึงลูกถึงคนเลยทีเดียว ทุกเครื่องส่วนใหญ่จะต้องมีสัญญาณตัวนี้การต่อใช้งานก็จะใช้สาย RCA ต่อเข้ากับเครื่องรับทีวี ที่มี AV ทีวีรุ่นใหม่ไม่มี AV ขายไม่ออกหรอกครับ เพราะการต่อแบบ AV ไม่จำเป็นต้องจูนช่องเลย ส่วนระดับภาพก็เหมือนกับที่ท่าน ๆ เห็นก็ถือว่าใช้ได้ ถ้าเกิดกิเลสไม่หนา หรืออยากได้อย่างเกินไปก็คงไม่มีปัญหา ใช้ๆ ไปเหอะประหยัดดี











3.สัญญาณทาง S-VIDEO








เป็นสัญญาณภาพที่มีการแยกเฉด สีกับสัญญาณขาวดำ (Y) ออกจากกัน เพื่อต้องการให้ระบบสัญญาณภาพมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด จุดมุ่งหมายอยากจะให้ระดับเฉดสีหรือองศาเควิ้นของระดับสีให้ดีที่สุด การต่อตรงนี้จะต้องใช้กับทีวีรุ่นที่มีที่เสียบเป็น S-VIDEO ภาพที่เห็นระหว่างเทากับดำจะเห็นชัดเจนขึ้น
4. สัญญาณภาพทางคอมโปรแน้น (Component Video Output)








สัญญาณตัวนี้จะปล่อยสัญญาณภาพออกมา 3 เส้น ได้แก่ Cr Cb Y ซึ่งสัญญาตัวนี้ จะทำการส่งสัญญาณเข้าสู่ระบบแผง RGB ได้โดยตรงสามารถทำให้ระบบเฉดสีสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นแต่การทำงานยังไม่สามารถละเอียดพออันเนื่องจากความถี่ของระบบทีวี จะมีอัตราคือ ระบบ 100 Hz เท่านั้นเองภาพที่ออกมาก็จะดูดีระดับหนึ่ง ในทีวีปัจจุบัน จะมีการโฆษณา ของระบบทีวีว่า รองรับ DVD ภายใต้ชื่อว่า DVD READY
5. สัญญาณระบบ Progressive Scan DVD
เป็นระบบที่ทุกช่างต้องเรียนรู้อาจเป็นระบบใหม่สำหรับเรา แต่ถ้าไม่ศึกษาการทำงานของ Pdrogressive Scan จะมีการควบคุมความถี่คงที่เราจะต้องมาศึกษาความถี่ถ้วนกันก่อนตามตารางดังนี้
FORMAT
PAL 50 Hz
NTSC 60 Hz
PAL 100 Hz
NTSC 120 Hz
Lineoobling
31.25 kHz
31.5 kHz
62.5 kHz
53 kHz
Lineoobling
47 kHz
47.3 kHz
94 kHz
94.5 kHz
Linequadrupling
62.5 kHz
64 kHz
125 kHz
126 kHz
800 * 600
31.25 kHz
37.5 kHz
62.5 kHz
75 kHz
1024 * 768
40.3 kHz
48.3 kHz
81 kHz
n.a
1280 * 1024
53 kHz
63.55 kHz
n.a
n.a
1280 * 7200
39.4 kHz
47.3 kHz
78.8 kHz
94.5 kHz
852 * 480
n.a
31.5 kHz
n.a
63 kHz

เมื่อเห็นจากตารางเราจะเห็นปัจจัยอยู่ 2 อย่าง ก็คือ ระบบ PAL และระบบ NTSC สิ่งที่คุ้นหูเรามากที่สุด ก็คือระบบ 100 HZ จะเห็นว่าระบบนี้จะเป็นของระบบ PAL แต่ถ้าเป็นของ NTSC จะได้ถึง 120 Hz เลยทีเดียว ปัญหาของการเล่นในระบบภาพก็คือแผ่น DVD ต้นแบบส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ จึงทำให้เป็นระบบ NTSC ซะส่วนใหญ่แต่ทีวีที่บ้านเรากับกลายเป็นระบบ PAL จึงก่อให้เกิดปัญหา เรื่องของระบบภาพไม่ได้
ระบบ Progressive จึงเป็นระบบใหม่ถอดด้ามทั้งเครื่อง DVD และเครื่องรับทีวีถ้าเป็นเครื่องรับทีวีมีระบบ PROGRESSIVE SCAN ในตัวเครื่องเล่น DVD ก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบ PROGRESSIVE เช่นทีวีพานาโซนิค T GIGA เมื่อสัญญาณ VDO อะไรป้อนเข้าเครื่องก็สามารถทำเป็นระบบ PROGRESSIVE SCAN ได้
ถ้าเครื่อง DVD ที่มีระบบ PROGRESSIVE อยู่ในตัวเป็นแบบธรรมดาจะมีระบบ FLIM MODE (3:2 Pulldow และ 2:2 Pullup)

ระบบ VGA ที่ให้ระบบภาพแบบ PROGRESSIVE ให้มีความละเอียด 640X480









ความหมายของระบบ
ระบบ NTSC Film Mode 3:2 Pulldown สามารถทำให้เครื่องเล่นแผ่น DVD และแผ่น VCD ที่ถ่ายจาก FLIM 24 เฟรม/วินาที
ระบบ PAL FLIM MODE 2:2 Pulldown สามารถเล่นแผ่น DVD และ VCD ที่ถ่ายจาก Film 25เฟรม ต่อวินาที
การทำงานของระบบ PROGRESSIVE ปกติจะมีช่อง VGA สำหรับต่อมอนิเตอร์สำหรับจุดนี้ก็จะเป็นการปล่อยสัญาณ ที่มีระบบความถี่ 640 X 480 เท่านั้นเองแต่เชื่อหรือไม่ว่าความถี่ที่ใช้งานก็จะสูงถึง 31.25 kHz เลยทีเดียว ระบบเดิม ๆ เราเรียกว่า 480 P
ระบบ PROGRESSIVE ที่สูงสุดในปัจจุบันจะราคาสูงมากซึ่งตัวนี้ทางเครื่อง DVD จะต้องพัฒนาความละเอียดให้สูง เพื่อป้อนเข้าสู่โปรเจคเตอร์ เมื่อขยายใหญ่แล้ว ภาพจะต้องสวยงามดุจดังต้นฉบับการทำงานสูงสุดของระบบ PROGRESSIVE จะต้องเป็นแบบ (NON อินเทอร์เลด) ที่มีอัตราการแสกนสูงสุด 1080 I และ720 P ซึ่งถือว่าสามารถสแกนความถี่ เพิ่มเส้นขึ้นมา 2 เท่าตัวเป็น1250 เส้น ทำให้ภาพคมชัด ถึงที่สุดแต่ต้องขอบอกว่าเรื่องราคาเครื่องเหล่านี้จะอยู่ระดับแสนกว่าบาทเลยทีเดียวในขณะนี้...สักวันหนึ่ง ราคาก็คงลดมาให้เราสามารถเล่นได้ถึงวันนั้นเราคงไม่แก่เกินไป นะครับ

การแสดงภาพบนหน้าจอที่มีรูปแบบต่าง ๆ เราควรรู้ไว้มีดังนี้
1. FULL FRAME หมายถึง การแสดงภาพเต็มเฟรมอันเกิดจากต้นฉบับในการถ่ายทำโดยของเขตโซนเรา จะใช้เป็น อัตราส่วน 4 ต่อ 3 เพื่อเป็นข้อกำหนดให้สอดคล้องกับทีวี
2. PS (PAN&SCAN) เป็นการขยายภาพออกด้านข้าง ของระบบ 16 ต่อ 9 ของต่างประเทศให้มาเป็น 4 ต่อ 3 ซึ่งภาพด้านข้างจะหายไป
3. แบบ (Letterbox) จะเป็นการนำสัญญาณภาพ 4 ต่อ 3 มาทำเป็นแบบจอกว้าง 16 ต่อ 9 ผลจะทำให้ภาพเกิดอาการยาวแบน เหมือนซองจดหมาย
4. แบบจอกว้าง WISCREEN เป็นการเสนอภาพของระบบต่างประเทศต้นฉบับ ฉายออกมาให้เหมือนกับระบบ 16 ต่อ 9 โดยใช้ทีวีที่เป็นแบบ 4 ต่อ 3
แน่นอนความถี่ของเส้นภาพก็จะหายไปด้วยเป็นอันว่าใช้งานระบบไหนก็จะดูระบบนั้นให้ดีจากสิ่งที่กล่าวมาหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับช่าง ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียวเมื่อศึกษาให้เข้าใจก็จะทำให้เราแก้ปัญหาได้มากยิ่งขึ้น




ที่สุดของ DVD วันนี้ด้วยระบบ USB Drive









เมื่อพูดถึงเครื่องเล่นดีวีดี ส่วนใหญ่ เราจะนึกถึงภาพเครื่องเล่นชนิดนี้มาทดแทน VCD ในสัดส่วนที่เป็นเครื่องเล่นทางด้านความบันเทิง ในระบบเครื่องเล่นจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังแต่ถ้าพูดถึงแผ่น VCD จะหมดไปนั้น เห็นทีจะยาก เนื่องจากความต้องการยังสูงราคายังถูก แต่ต้องมาทบทวนในเรื่องของระบบหัวอ่านกันบ้างแน่นอน ผลกระทบเกิดมาค่อนข้างชัดเจนว่าต่อไปนี้ เครื่องเล่นต่าง ๆ จะไม่มีประเภทลำแสงเลเซอร์อีกแล้ว โดยฌฉพาะลำแสงแดงแต่ถ้าเป็นหัวอ่าน VCD โอกาสที่จะสูญพันธ์ยิ่งมีมากกว่า

การใช้งานระบบ USB






การใช้งานก็จะดูเหมือนไม่ยุ่งยากซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ระบบนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและการโฆษณาของเครื่องเล่น มินิคอมโปรโซนี่ ยิ่งเป็นการฉุดกระแสความต้องการของผู้บริโภค มากยิ่งขึ้น
ผมได้ทำการ เสียบ USB DRIVE ลงไปในช่องที่กำหนด หลังจากที่เปิดเครื่องแล้ว การเสียบ หรือถอดเข้าออกของการ์ด USB ไม่จำเป็นต้องเปิดเพาเวอร์เลยระบบการค้นหา ปฏิบัติการอัตโนมัติ ก็จะเริ่มขึ้นทันทีซึ่งเราไม่ต้องไปยุ่งยากอะไรเลย ระบบเครื่องจะใช้เวลาหาด้วยเวลาเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 4 วินาทีเท่านั้นเอง








การเริ่มอ่านไฟล์โดยที่เราไม่ยุ่งยาก และสามารถปล่อยระบบเสียงออกมาได้อย่างชัดเจน ดุจดังต้นฉบับตัวจริง นี่ก็คงเป็นเหตุผลที่เราต้องมาดูมุมมอง ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมและการเตรียมตัวเรื่องอะไหล่ เอาไว้อนาคตภายภาคหน้า ราคาเครื่องบางท่านอาจจะไม่เชื่อ ระบบนี้ราคาไม่เกิน 3000 บาท เราก็สามารถเป็นเจ้าของเครื่องเล่นดีวีดี ที่มีพอตต์ USB เอาไว้ใช้งาน
ถ้าเป็นระบบ MP3 ระบบเครื่องก็จะอ่านออกมาดังรูปซึ่งจากรูปเป็นการเล่นเพลง MP3 ใน TRACK ที่ 1 และมีการแสดงรายชื่อของแต่ละ TRACK ต่าง ๆ











กรณีเป็นอัลบั้ม ก็จะเห็น Folder ดังรูปซึ่งในนั้นก็
จะมีอีกหลายเพลง















จากรูปมาดูช่องเสียบระบบ USB และช่อง MIMC Card ซึ่งจะรองรับอนาคตได้เป็นอย่างดีนั้นหมายถึง ตัวนายช่างเองต้องเริ่มศึกษาระบบให้เร็วที่สุด ซึ่งจะมาสอดคล้องกับระบบหน่วยจำทั้งหมด ที่อยู่ในโทรศัพท์ซึ่งสามารถนำมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และไร้ขอบขีดจำกัดการสะดุดการอ่านภาพเป็นตารางการป้องกันระบบสั่นสะเทือนสิ่งเหล่านี้จะหายไปทั้งหมด แถมยังเล็กกระทัดอย่างไม่น่าเชื่อ ตอนนี้ขณะที่ทำหนังสือเล่มนี้ รุ่นอาจจะมีไม่เยอะแต่เชื่อเถอะอีก 2 ปี ข้างหน้า ใช้กันแพร่หลายแน่นอน







สุดท้ายอยากจะฝากถึงระบบ MPEG4 ที่ให้ภาพและเสียงพอดูได้ แต่เชื่อหรือไม่ไฟล์จะเล็กมากซึ่งตอนนี้ได้รับความนิยมในเครื่องมือถือเป็นอย่างมากและสามารถบรรจุหนังได้ถึง 15 เรื่องในแผ่นเดียวรับรองได้ว่าดูกันจนตาแฉะ แผ่นเดียวก็ไม่หมด.....เฮ้อกลุ่มใจจริงๆ

ระบบหัวอ่านของ DVD
เครื่องเล่น DVD ที่ลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับเครื่องเล่น CD และ VCD จะประกอบด้วยชุดหัวยิงแสงเลเซอร์, ระบบการหมุนแผ่นและแมกคามิกส์, ระบบเซอร์โว, ระบบควบคุม และสั่งงานต่าง ๆ ระบบถอดสัญญาณเสียง สิ่งที่เครื่องเล่น DVD ต่างกับเครื่องเล่น CD และ VCD อยู่ที่หัวอ่านหรือ opitical pikup เนื่องจากจุดประสงค์ของเครื่องเล่น DVD จะต้องสามารถเล่นแผ่น CD และ VCD รวมถึง MP3 ได้
จากข้อแตกต่างระหว่างโครงสร้างของพิต,แทรกข้อมูล,ความลึกของชั้นข้อมูล ดังนั้นหัวอ่านจึงต้องถูกออกแบบให้สามารถปรับระยะโฟกัสได้ 2 ระยะคือ
1.ขณะเล่นแผ่น CD หรือ VCD ระบบโฟกัสจะต้องถูกจัดให้อยู่ตำแหน่งผิวชั้นข้อมูลของแผ่น CD หรือ VCD ซึ่งความลึกห่างจากผิวหน้าลงไป ประมาณ 1.2 มิลลิเมตร โดยจุดตกของแสงในส่วนของแลนด์ที่ผิวของชั้นข้อมูลจะต้องมีขนาดโตประมาณ 1.6 ไมโครเมตร
2.จุดเริ่มต้นของ DVD ก็คือราคาถูก โดยทางบริษัทซันโยได้นำเทคโนโลยีหัวอ่านแบบแสงสีแดงที่ทำราคาถูกแบบไม่น่าเชื่อ...มิหนำซ้ำยังสามารถอ่านแผ่นได้สารพัด จึงทำให้โดดเด่นต่อวงการ เมื่อเป็นอย่างนี้เราต้องมาศึกษาระบบนี้ให้ดี
CS6H032RDBJ นี่คือเบอร์หัวอ่านของบริษัทซันโยได้นำออกมาสู่ตลาดจำนวนมาก







ในระบบหัวอ่าน เลนส์ที่ใช้เป็นแก้ว แต่ตอนหลังก็ได้พัฒนามาเป็นพลาสติก เพราะราคาถูกมาก ฉะนั้นการทำความสะอาดจะ ต้องระมัดระวังเรื่องของน้ำยาที่ใช้จะต้องป้องกันเรื่องเป็นรอยเอาไว้ให้มากเนื่องจากลำแสงเลเซอร์ จะมีขนาดเล็กเพียง 650 NS เท่านั้น









การเลือกใช้สายแพ
ลักษณะของสายแพของเครื่องเล่น DVD จะมีความถี่มากกว่า DVD เยอะมากจำนวนเส้น ที่อยู่ภายในจะอยู่ภายในซึ่งจำนวนขาของชุดสายแพจะมีถึง 24 ขาหรือ 26 ขาซึ่งต่างจาก VCD จีนแดงจะมีเพียงจำนวนขาเพียง 16 ขาเท่านั้นการดึงสายจะต้องดึงด้วยความระมัด ระวังและพยายามอย่าให้ สายงอและเยินเป็นอันขาด










แสดงคำสั่งของสายแพรแต่ละเส้น
รูปแสดงวงจรหัวอ่าน DVD
1. F-
13. VC
2. F+
14. VCC
3. T+
15. E
4. T-
16. NC
5. C
17. VRCD
6. B
18. VRDVD
7. CD/DVD
19. LD-CD
8. RF
20. MD
9. A
21. HFM
10. D
22. NC
11. F
23. LDCD
12. GND
24. GND LI

ตำแหน่งสายแพที่อยู่บนหัวจะทำให้การวิเคราะห์งานซ่อมได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกประการหนึ่งก็คือเรื่องอุปกรณ์ภายในที่อยู่ในระบบหัวอ่านที่มี่ส่วนสำคัญในงานปฏิบัติจริง...และจะส่งผลทำให้ช่างแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง สิ่งแรกที่เราจะต้องคำนึงในเรื่องหัวอ่านเรามาดูการนับขาหัวอ่านกันครับ
1. การนับสายแพ
การนับสายแพให้เพื่อนสมาชิกมองไปที่ใต้หัวของดีวีดีเป็นหัวซันโย ให้เริ่มนับจากด้าน ซ้ายที่อยู่ด้านในตำแหน่งที่ผมชี้คือ ขาที่ 1 ครับ ส่วนขา 2 3 4 ก็นับไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ













2. ตำแหน่ง VR
ตำแหน่งนี้จะเอาไว้ปรับเกณฑ์หัวอ่านเพื่อให้เครื่องอ่านแผ่นได้ดียิ่งขึ้น ครั้งนี้เราต้องจับสัญญาณ RF ด้วยสโคปให้ดีนะครับ ซึ่งขอให้ติด ตามในบทความกันต่อไป การวัดด้วยมอนิเตอร์แบบหยาบ ๆ ทำดังนี้ VCD วัดกลางกับขวาได้ 920 โอมห์ วัด DVD กลางกับขวาได้ 3.26 k โอมห์












3. คอปเปอร์แพ๊คเทิรน์
เป็นระบบป้องกันไฟฟ้าสถิตเพื่อไม่ให้ทำร้ายหัวอ่านให้เกิดความเสียหายเมื่อซื้อมาใหม่จุดนี้จะต้องมีตะกั่วเชื่อมกันไว้เวลาเราจะใส่ต้องบักกรีออกทุกครั้งไม่เช่นนั้นจะเกิดอาการ NO DISC










4. เลเซอร์ไดโอด
SEMICONDUCTOR laser เป็นตัวที่สำคัญโดยจะมีทั้ง VCD และ DVD อยู่ในกระบอกเดียวกันสังเกตได้ง่าย ๆ ของ DVD จะเป็นลำแสงสีแดงมีความไวต่อไฟฟ้าสถิต เสียหายง่าย











5. ชุดรับแสงเลเซอร์
PHOTO DETECTER ไดโอดในชุดนี้จะมีการยึดกาวไว้อย่างเหนียวแน่นเพื่อไม่ให้เคลื่อน จะทำหน้าที่แปลงแสงเลเซอร์ เป็นไฟฟ้า










6. เกรทติ้งเลนส์
เป็นเลนส์ที่หักมุมสะท้อนแสงเลเซอร์ไปยังแผ่น CD แล้วกลับมาเข้าสู่ PHOTO ไดโอดจะซ่อนอยู่ด้านใต้อย่าให้สกปรกนะครับ










การทำงานแบบดับเบิ้ลโฟกัส
จากรูปจะเห็นได้ว่า การปรับแสงเลเซอร์จะส่งผ่านเกรทติ้งเลนส์ก่อนเข้าสู่ Hologram แล้วพุ่งเข้าสู่แผ่น VCD และ DVD การทำงานของจุดนี้จะต้องอาศัยชุดเลนส์ของ Hologram เป็นตัวปรับระดับเพื่อให้แสงเลเซอร์เข้าไปสู่ PHOTO DETEC ได้อย่างพอดี ขอให้เพื่อนช่างพิจารณาสังเกตการณ์ทำงานของ DVD แล VCD ให้เห็นความแตกต่าง ผมจะทำการชี้ลำแสงในตัวจะเป็นของ DVD และลำแสงตัวนอก จะเป็นของ VCD การประสานงานเช่นนี้ จะทำให้หัวอ่านสามารถอ่านเลเซอร์หรือชั้นของ DVD ได้ถึง 2 ชั้นเลยทีเดียว ขอย้ำลำแสงเลเซอร์ที่อยู่ใน CD จะมีความยาว 780 NS นาโนเมตร และลำแสง DVD จะมีความยาวคลื่นแสง 650 NS นาโนเมตร จึงทำให้ขนาดของข้อมูลเล็กกว่าและสามารถบรรจุข้อมูลได้เยอะขึ้น















หัวอ่านที่อยู่ในเครื่องเล่น DVD จะมีอยู่ 3 ตระกูลใหญ่ๆ เราจำเป็นจะต้องรู้ชื่อและการทำงานของแต่ละหัวเพื่อให้สอดคล้อง กับการทำงานจริงเวลาเราซื้อหัวอ่าน DVD เราจะต้องบอกให้ถูกต้อง และต่อไปนี้เราจะต้องดูหัวอ่านเป็นต้องขอชี้แจงให้ทราบว่า เลนส์ ที่ใช้ในปัจจุบันเป็นพลาสติก กันทั้งหมดแล้วจึงหาแบบที่เป็นประจุ ได้ยาก
1. หัว SFHD 60 ของซันโย
2. หัวมิซูมิ 1286B
3. หัวโซนี่ KSM 280 สายแพร 26 PIN
ในแต่ละหัวจะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกันจะเล่นแผ่นก็อปปี้ได้ดี สามารถเล่นได้ทุกระบบแต่ตอนนี้ ยังมีราคาแพงอยู่อดใจรอกันหน่อยครับราคาต้องถูกลงแน่นอน

CLV (Constant linear velocity)
การควบคุมความเร็วในการหมุนแผ่นในระบบ DVD
ในการควบคุมความเร็วในการหมุนแผ่นเพื่อให้แสง Laser นำข้อมูลออกมาจากแผ่น CD หรือแผ่น DVD จะต้องมีอัตราเร่งที่คงที่ซึ่งเราเรียกว่าซีแอลวี (CLV) นั้นเองในการควบคุมอัตราเร่งของมอเตอร์หมุนแผ่นหรือเรียกว่า สปินเดิ้ล มีความสำคัญตั้งแต่ระบบ VCD หลักการและการเรียนรู้จะอยู่ในรูปแบบเดียวกัน ถ้าเปรียบในลักษณะการทำงานของระบบ TV ที่มีการแสกนภาพ เพื่อไม่ให้ภาพล้มและเลื่อนก็จะมีคำสั่ง SYNC จะเป็นตัวกำหนด ความถี่ของสถานีส่งและรับให้ตรงกันหากไม่เช่นนั้นจะเกิดอาการภาพล้มขึ้นมาได้ แต่สัญญาณที่ส่งเข้ามาเพื่อบอกสัญญาณ SYNC ก็จะมีการซ่อนระบบสัญญาณ SYNC ในกลุ่มของ DATAหรือกลุ่มอินเฟอร์เมชั่นดาต้า

โดยจะสอดเข้ามาเพื่อให้การหมุนของมอเตอร์ได้คงที่ ในระบบ VCD มอเตอร์หมุนแผ่นจะทำการกำหนดสัญญาณ CLV ไว้ที่ 1.2 ถึง 1.4 M/S หากเป็นความถี่ที่สอดเข้ามาเท่ากับ 7.35 kHz ในระบบ ดีวีดี มอเตอร์หมุนแผ่นจะมีความเร็วเพื่อขึ้นถึง 3 เท่าตัวเลยทีเดียว โดยมีสัญญาณ CLV เท่ากับ 4MS และระบบควบคุม 26.16 Mz จึงทำให้ในการหมุนแผ่นดีวีดีมีความเร็วสูงมากการอ่านข้อมูล ที่รวดเร็วในระบบดีวีดีเพื่อไม่ให้เสียเวลาอ่านนานจำเป็นจะต้องหมุนแผ่นตลอดเวลา เมื่อมีแผ่นอยู่ภายในเครื่อง ผลทำให้มอเตอร์หมุนแผ่นชอบมีปัญหา และเสียหายในที่สุด




















หลักการทำงานของระบบ RF
ในการควบคุมระบบหัวอ่านเพื่อควบคุมในเรื่องของโฟกัสหรือแทร๊กกิ้ง เราจะให้ชื่อย่อ ๆ ของเขาว่า OPU (Optical photo unit) ในระบบนี้เราจะมาดูการทำงานว่าหลักการมีอย่างไร และมีแนวทางในการวิเคราะห์และการตรวจซ่อมต้องมีอะไรบ้าง เราก็ต้องมาทำความเข้าใจ ให้ดีเรามาดูหัวข้อใหญ่ ๆ ที่จะทำให้ระบบ RF เกิดความสมบูรณ์ในตัวของมันเองต้องมีดังนี้
1. ระบบควบคุมเซอร์โว (Servo Control)ในระบบนี้จะเป็นการควบคุมและเป็นการทำงานของคำสั่งของเซอร์โวย่อยอีกหลายตัว ซึ่งทุกตัวจะต้องทำงานอย่างสอดคล้องเพื่อให้การ ดำเนิน งานหรือการถอดรหัสออกจากแผ่นเป็นไปอย่างสมบูรณ์ศัพท์ใหม่ ๆที่เกิดขึ้น เราจะต้องจดจำเพื่อการซ่อมจะได้ง่ายยิ่งขึ้นเรามาดูระบบ เซอร์โว ว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง









1.1 โฟกัสเซอร์โว (Focus Servo)
การทำงานของโฟกัสก็จะทำการควบคุมให้แสงเลเซอร์ที่สะท้อนกลับมีความคมชัดมากที่สุดและเป็นผลทำให้ภาพออกมาสวยที่สุดการควบคุมผลของการทำงานระบบนี้มักจะได้คำศัพท์ออกมาชื่อ FE (Focus Error)













1.2 แทร็กกิ้งเซอร์โว (Tracking Servo) ระบบนี้จะทำการบังคับเส้นแทร็คให้ตรงตลอดเวลาโดยจะใช้คอยขดลวดที่หัวอ่านบังคับการเบี่ยงเบียนซ้ายขวาเพื่อคอยจับเส้นแทร็คตลอดเวลาซึ่งผลของการทำงานระบบนี้เราจะให้ชื่อย่อว่า TE (Tracking Error)
1.3 สเลดเซอร์โว เป็นระบบเซอร์โวที่คอยควบคุมการทำงานของการเคลี่อนที่ของหัว เพื่อที่จะให้หัวอ่านสามารถเลื่อนออกจากแทร็คหนึ่งไปยังแทรกหนึ่งได้อย่างสมบูรณ์ การทำหน้าที่ของสเลดเซอโวยังช่วยให้การค้นหาตำแหน่งข้อมูลของแต่ละแทรกได้อย่างรวดเร็ว
1.4 สปินเดิ้ลเซอโว (Spindle servo) จะทำหน้าที่คอยหมุนแผ่นของ VCD และ DVD ให้ได้ความเร็วรอบตามที่ต้องการมอเตอร์ตัวนี้มักจะมีปัญหาบ่อยอยู่เสมออันเนื่องมาจากการทำงานตลอดเวลา เมื่อมอเตอร์ได้เสื่อมแล้วผลก็จะทำให้ การอ่านแผ่นมีปัญหาภาพจะสะดุดและในที่สุดก็ No Disc การตรวจเช็คของมอเตอร์ตัวนี้ผมได้แสดงวิธีการวัดได้เป็นที่เรียบร้อยให้เพื่อนช่างติดตามอ่านกันต่อไป เมื่อทุกอย่างได้เป็นที่เรียบร้อยแล้วระบบของเครื่องในส่วนของ OPU ก็จะหมดสิ้นขบวนการสัญญาณก็จะถูกส่งเข้าไปในส่วน DSC ต่อไป

2. ระบบ Optical disc control (ODC)
ปัจจุบันการทำงานของ ODC ก็คือหน่วยควบคุมระบบเซอโวอีกภาคหนึ่งโดยจะมีหน้าที่หลัก ๆ ก็คือขยายสัญญาณ RF ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญในการแก้ปัญหาในเรื่องโนดิสนั่นเอง เรามาทราบขั้นตอนการถอดรหัสสัญญาณ RF กันเลยครับ
2.1 ตรวจสอบแรงไฟที่มาเลี้ยง ODC หรือ RF Servo ให้เรียบร้อยแรงไฟเหล่านี้จะมาจาก Ic เล็กกูเรตเบอร์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำฟลายที่ 5 โวลย์และ 3.3 โวลย์ และจะต้องจ่ายกระแสได้อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย ๆ 250 MA


















2.2 ตรวจสอบแรงไฟรีเซ็ต ถ้ามีเพราะในปัจจุบันระบบการรีเซ็ตไม่จำเป็นจะต้องมีก็ได้ เพราะอยู่ภายในของตัว IC แต่ถ้าเราจะต้องกำหนด ให้เขาเป็นข้อหนึ่งหากไฟชุดนี้ไม่ทำงาน จะทำให้ระบบเซอร์โวล้มเหลว บางทีก็สร้างเองจากทรานซิสเตอร์ บางทีก็มาจาก IC MPEG 2 สิ่งเหล่านี้เราจะต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วน

2.3 สังเกตการณ์ทำงานของระบบหัวอ่านต้องอยู่ในขั้นตอนที่พร้อมจะทำงานดังนี้
1.ถาดเข้าสุดมอเตอร์สปินเดิ้ลหมุนสักครู่หยุด
2.สังเกตหัวอ่านเคลื่อนกระตุกสวิทย์ใต้หัว
3.สังเกตแสงสีแดงจะต้องเปล่งออกมาอย่างเห็นชัด
4.สังเกตหน้าจอจะต้องติดพร้อมโลโก้จะต้องออก
5.เมื่อใส่แผ่นสังเกตแผ่นจะต้องหมุน VCD จะหมุนช้า
6.เมื่อใส่แผ่น DVD แผ่นจะต้องหมุนเร็ว
7.ใช้สโคปจับสัญญาณ RF ลูกคลื่นจะต้องได้ตามที่กำหนด


ขั้นตอนการใช้สโคปปรับหัวอ่านโดยตั้ง TIME/DIV = .1 Usโดยสายโพรบตั้งไปที่ Rx10 แล้วสังเกตลูกคลื่น จะต้องได้ความแรง = 1.2 โวลย์ P-P สังเกตลูกคลื่นจะต้องชุดไม่กระตุกทางนี้เป็นการตรวจสอบได้ว่าดีหรือไม่










การตั้ง Time/div .1 Us ที่ใช้จับสัญญาณ RF ทั้ง DVD และVCD ส่วนสโคปตัวที่ใช้ก็เพียง 20 Mhz เท่านั้นเอง ครับก็สามารถดูระบบการปรับความถี่ของหัวอ่านได้แล้วครับ








การตั้งสัญญาณของระบบหัวอ่าน รูปสัญญาณออกมาไม่สวยก็ขอให้ทำการปรับLEVELTRIGGER ค่อย ๆ หมุนให้ตำแหน่งสวยที่สุดสัญญาณที่ออกมาของแต่ละรุ่นผมได้นำวงจรแนบมาให้เรียบร้อยแล้วขอให้ดูตำแหน่งของบล็อกไดอาแกรม แล้วจับด้วยสโคปได้เลยครับ












ส่วนสัญญาณ RF ที่ออกมานั้นเราจะต้องดูความแรงและความสวยของลูกคลื่นให้ได้ดีที่สุดทั้งนี้จะเป็นการบ่งบอกคุณภาพหัวอ่านได้เป็นอย่างดีสัญญาณที่ออกมาจะต้องไม่สั่นหรือกระเพื่อมซึ่งจะมีผลทำให้ภาพเป็นตารางได้ ความแรงที่เกิดขึ้นในรูปจะได้ความแรง 1.2 VP-Pดังรูป

รูปคลื่นนี้เป็นของ VCD
จะเห็นได้ว่ายังคงรูปแบบเหมือนเดิมโดยการกำหนดความแรงของสัญญาณยังอยู่
1.2 V-P









รูปคลื่นนี้เป็นของ DVD จะเห็นว่าความแรงของหัวอ่านยังเท่ากัน แต่ความถี่ของสัญญาณ EYE PACKTURN จะถี่กว่าเยอะมาก



















แนวทางการซ่อม DVD SPCA8200A อาการ NO DISC
ขั้นตอนการซ่อมอาการ NO DISC ยังคงเป็นอาการที่ทุกคนจะต้องให้ความสำคัญในทุกรูปแบบเราจะต้องศึกษาการทำงาน ขั้นตอนการทำงานที่เป็นมาตรฐานในด้าน ซอฟแวร์จริง ๆ เรามาดูขั้นตอนการทำงานเริ่มต้นดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการทำงานหลัก ๆ ของ DVD
1.เปิดเครื่องหน้าจอ DIS PLAY แสดงผล HELLO แล้วขึ้น LOAD
2.ชุดหัวอ่านพุ่งชนสวิทย์ HOME ที่อยู่ใต้หัว
3.แสงเลเซอร์ของ DVD เปล่งแสงสีแดงเพื่อทำการค้นหาแผ่น
4.มอเตอร์สปินเดิ้ล หมุนขยับเพื่อตรวจสอบตัวเอง
5.เครื่องรอรับการทำงานต่อไป

ขั้นตอนการซ่อม อาการ NODISC ก็เหมือน ที่กล่าวมาเราจะต้องทำตามขั้นตอนที่กำหนดต้องขอย้ำว่าขั้นตอนการทำงานนี้ใช้เครื่อง LEONA รุ่น DL525 เป็นต้นแบบซึ่งจะทำให้สอดคล้องกับการทำงาน ชิพที่ใช้ในการถอดรหัสก็เป็นเบอร์ SPCA8200 ขั้นตอน 5 ขั้นที่ให้มานั้นมีประโยชน์มากแต่ละขั้นตอนเราจะต้องทำให้ผ่านเช่นจากข้อที่ 1 ถ้าเกิดหน้าจอ DIS PLAY ไม่ติดก็ต้องไปดูระบบ System กันต่อไป
แต่สิ่งที่จะบอกต่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนการซ่อม เกี่ยวกับอาการสัญญาณ RF แบบเต็ม ๆ
ขั้นตอนการซ่อมอาการ NODISC
1. ตรวจสอบขั้นตอนหลักโดยการใช้สายตาตรวจสอบการทำงานของระบบหัวอ่านโดยจะมีแสงสีแดงเปล่งออกมาหากขั้นตอนนี้ไม่ได้ให้ไปดูขั้นตอนการซ่อมที่ 1
2. ขั้นตอนการตรวจซ่อมอาการไฟไม่เข้าทำให้ DIS PLAY ไม่ให้ดูขั้นตอนซ่อมที่ 2
3. สปินเดิ้ลไม่หมุนไม่มีการขยับตัวเองแม้ไม่ใส่แผ่นซึ่งเป็นอาการ NO DISC ให้ดูขั้นตอนซ่อมที่ 3

ขั้นตอนการซ่อมที่ 1 อาการ NODISC ไม่มีแสงเลเซอร์สีแดง
การทำงานของแสงสีแดงเราจะต้องมาทราบขั้นตอนของเขา ว่ามีหลักการทำงานเป็นอย่างไรการทำงานของเลเซอร์สีแดง จะต้องมีเงื่อนไข
1. เครื่องต้องติดโลโก้ต้องออก
2. ถาดต้องออกเข้าได้
3. หัว DVD ต้องขยับ
จากขั้นตอนที่กล่าวมาจะต้องทำให้ผ่านก่อนเมื่อได้แล้วคำสั่งมอเตอร์หมุนของเจ้าสเลดมอเตอร์ซึ่งจะอยู่ใน IC BA5954 ที่ขา 11 และ 12 จะเป็นตัวรับคำสั่งในการทำงานว่าเจ้าสเลดมอเตอร์จะต้องเคลื่อนตัวเองไปชนกับลิมิตรสวิตช์ที่อยู่ใต้หัวเพื่อจะได้คำสั่ง HOME สวิทย์เข้ามาที่ขา 50 SPHE 6000 จากวงจรจะเห็นว่าคำสั่งที่เข้ามาจากคำสั่งHOME สวิทย์ต้องอาศัย IC DRIVE BA5954 เป็นขับเคลื่อน สเลดมอเตอร์ให้ไปชนกับลิมิต สวิทย์เพื่อบอกใน IC OPU ต่อไปจากเงื่อนไขที่กำหนดว่ามอเตอร์สเลด จะต้องดึงหัวไปชนลิมิตนั้นเราก็ต้องมาทราบหลักการทำงาน ของ IC เซอร์โว BA5954 กันต่อไป











โครงสร้างของ IC เซอร์โวที่อยู่ภายในและปัจจัยต่าง ๆ
ที่จะต้องทำให้เรารู้จักเพื่อแก้ไขกับปัญหาให้ได้การที่
จะซ่อมจุดนี้ เราจะต้องเรียนรู้ดังนี้
1. ไฟเลี้ยงอยู่ที่ขา 8, 9 ,21 ไฟเลี้ยง 5 V
2. ไฟอ้างอิง VREF2 ขา27 1.7 V
3. ไฟแสตนบายที่ขา 28 ไฟจะอยู่ระหว่าง
3.3-5 V
4. คำสั่งอิมพุทสเลดไปอยู่ที่ขา 5 หรือคำสั่ง
SCO ปกติขานี้ 1.6 V เวลาสั่งให้ทำงาน
จะต้องเป็น 0 V




จึงเป็นเรื่อง ที่สำคัญบัดกรีให้ดีในการซ่อม จากประสบการณ์ ของรุ่น LEONA และแฟนตาเซียบางรุ่น จะต้องรอคำสั่งแสตนบายของIC DRIVE เซอร์โวที่ ขา 28 ซึ่งขานี้ปกติจะทำงาน 3.3 ถึง 5 V หากไฟชุดนี้ไม่ทำงาน ทุกอย่างหมดสิทธิ์
เมื่อเราทราบ IC ตัวนี้แล้วยังไปใช้กับรุ่นอื่นได้อีกมากมาย การสั่งให้สเลดสามารถวิ่งเข้าวิ่งออกได้ขึ้นอยู่กับคำสั่ง SCO ว่าจะมากหรือน้อยเท่านั้นเองนี่คือลักษณะตัวจริงของ BA5949FP แต่ของตัวนี้จะใช้ CD5954CB ก็ถือว่าใช้ได้เช่นกัน IC ตัวนี้ทำเวลาทำงานตัว IC จะร้อนการยึดตัวถังกราวด์












คำสั่งขา VREF
เป็นคำสั่งที่ออกมาจาก IC เซอร์โว ซึ่งจะทำไฟมาบอกไว้ว่า IC เซอร์โวพร้อมที่จะทำงานแล้วตำแหน่งขานี้จะต้องมีไฟประมาณ 1.7 V หากไฟขานี้ไม่ได้ทุกอย่างก็จะหยุดการทำงานจึงขอให้เช็คคำสั่งนี้เป็นพิเศษนะครับจากรูปจะเห็นว่าได้นำมิเตอร์เข้าไปวัดที่ขา 27 ตำแหน่งไฟจะต้องมารอตลอด ดังที่เห็น












ขั้นตอนซ่อมที่ 2 อาการไฟไม่เข้าเครื่อง
เป็นอาการที่ HIT HOT มากที่สุดในการเปิดเครื่องไม่ติดซึ่งเราเองจะต้องพิจารณาการแยกในส่วนต่าง ๆ ออกมาให้ดีที่สุด ไม่เช่นนั้นหลงเอาง่าย ๆ เรามาดูขั้นตอนการซ่อมกันได้เลยครับ
1. เช็คไฟเข้าระบบ SYSTEM โดยมีการตรวจเช็คดังนี้
1.1 ไฟ 1.8 V เป็นไฟ VCC1 อยู่ใกล้ ๆ รูปมือเป็นจุดที่ 1













1.2 ไฟ 3.3 V เป็นไฟ DVCC อยู่ใกล้ ๆ รูปมือเป็นจุดที่ 2 ที่ต้องวัด












การวัดไฟทั้ง 2 จุดจะเป็นการชี้บ่งเรื่องของภาคจ่ายไฟว่าสมบูรณ์ซึ่งความจริงแล้วตำแหน่งไฟมีอยู่หลายขามาก ขอให้เราดูวงจรตามกันอีกครั้งหนึ่ง
1.3 วงจรกำเนิดความถี่ 27 Mhz เป็นวงจรกำเนิดความถี่หลัก ที่ใช้เลี้ยงระบบ
ทั้งหมดซึ่งจะเป็นหัวใจหหลักขั้นตอนการซ่อมให้เราตรวจสอบแล้วพิจารณาให้ดีปกติเมื่อวัดขาเข้าไปที่ตำแหน่ง X-TAL ทั้ง 2 ขาจะต้องได้แรงไฟ 1.7 V










จากวงจรจะเห็นได้ว่าได้นำวงจรความถี่ที่เกิดขึ้นได้เชื่อมโยงไปยัง IC MPEG 2 ซึ่งให้ทำการวัดแรงไฟที่ขา X-TAL จะต้องได้ 1.7 V การวัดสัญญาณด้วยสโคปยังเป็นหัวใจที่สำคัญในการวัดสัญญาณ แต่ในลักษณะของตัวจริง เราจำเป็นที่จะต้องพิถีพิถัน ในการเลือก X-TAL ต้องเหมือนอย่างในรูปจะดีที่สุด










วัดคำสั่ง RESET คำสั่งนี้จะต้องปรากฏซึ่งทุกวงจรจะต้องมี การทำงานของ LEONA รุ่น DL525 จะใช้ทรานซิสเตอร์ Q19 เป็นตัวสร้างไฟ RESET โดยจะใช้ CE และ R138 เป็นตัวกำหนดฐานเวลา เพื่อให้ค่า RESET เป็นไปตามเป้าหมาย
โดยจะเข้าสู่ขา 33 ของ IC SPCA8200A ดังรูป











ขาคำสั่ง RESET OUT ยังต้องส่งออกไปในส่วนต่าง ๆ อีก 2 ขา ก็คือ RESET ATA และ RESET CARD ในส่วนอื่นต่อไป

1.4 คำสั่ง Flash เป็นคำสั่งพื้นฐาน ที่จะทำให้ระบบเครื่องได้รู้จักตนเอง หรือพูด
ง่าย ๆ เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีไบออส BIOS การเรียนรู้ของเครื่อง DVD จำเป็นที่จะต้องเข้าใจพื้นฐานว่าตัวเครื่องเล่นเองนั้นต้องมีอะไรบ้างเป็นองประกอบหลักซึ่งจะมีวีธีตรวจหลัก ๆ ดังนี้
1)ภาคจ่ายไฟ ดีจ่ายไฟมาครบถ้วน
2)CPU นี้สามารถกำเนิดความถี่พร้อมกับการเรียนรู้ว่าจะต้องพยายามทำอะไรต่อไป











3)ระบบแฟรชเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณมีโลโก้อะไรและทำอะไรได้บ้างพร้อมกับการตรวจสอบตนเอง
IC FLASH แบบวางลงบนแผ่นปริ้นท์ตัวบาง







แบบดั้งเดิมสามารถก๊อปปี้ข้อมูลได้แบบนี้แหละผมชอบ...ไม่ต้องวุ่นวาย









4)ระบบบ RAM เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะต้องมีการพักข้อมูลแล้วทำงานในส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรมโดยกำหนดเป็นพื้นที่ว่างขึ้นมาโดยโปรแกรมตัวนี้จะต้องบริหารด้วย CPU










จากวงจรให้เราทำการตรวจสอบที่ขาคำสั่งของ IC FLASH โดยไฟจะเข้ามาที่ขา 36 โดยไฟจะส่งเข้ามาเลี้ยง 5 โวลย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขาสุดท้ายเมื่อได้เสร็จเรียบร้อยให้ท่านสังเกตในวงจรจะมีขา 33 และ 34 ให้ตัดทิ้งไป คำสั่ง DATA จะส่งเข้าทั้งหมด 26 เส้นโดยแต่ละเส้นจะมีการเชื่อมโยงไปยัง IC MPEG 2 โดยตำแหน่งขาแอดเดรชแต่ละตัว เราสามารถใช้สโคป จับดูความถี่ได้ทั้งหมดและที่สำคัญขา 22 และ 24 จะต้องได้ไฟ 3.3 โวลย์ เท่านั้นหาก IC ตัวนี้ล้มเหลวเครื่องก็จะไม่ทำงานได้เลย หากกรณีอีพรอมผิดรุ่นระบบ CPU จะไม่ได้รับการตอบรับจาก IC อีพรอมทุกอย่างล้มเลิก














วงจร RAM ที่ใช้งานจริง

5)IC RAM ในส่วนของแรม จะมีการต่อ 2 ตัวพ่วงกันเพื่อใช้ในการเพิ่มพื้นที่ในเรื่องหน่วยความจำโดยปกติส่วนใหญ่ ไฟจะส่งเข้ามาที่ขา 1 ของ IC RAM แทบทุกตัวการทำงานของแรมเราสามารถใช้คำสั่ง CLK ที่อยู่ขา 35 และ CKE ที่อยู่ขา 34 ของทั้ง 2 ตัวเมื่อได้ตรงนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะส่งข้อมูลแบบมัลติเพล็กของ IC MPEG 2 โดยจะออกที่ขา 156 และ 155 และ 154 ต่อไป




ขั้นตอนซ่อมที่ 3 ซ่อมอาการถาดไม่ออก
ในการซ่อมอาการถาดไม่ออกเราจะต้องคำนึงถึงหลักการทำงานให้เป็นหลักไว้ก่อนหากเราไม่เข้าใจในระบบการทำงานจะทำให้เราไม่สามารถแก้ปัญหาได้หลักการปฏิบัติงานแบบง่าย ๆ เราจำเป็นจะต้องรู้ในระบบบล็อกไดอะแกรม ว่าขั้นตอนการทำงานของการขับถาดเข้าออกมีแนวทางการทำงานอย่างไร



















การทำงานของอาการถาดไม่ออกผมจะใช้เครื่องของFANTASIA รุ่น RC71D โดยใช้ชิพ SUNPLUS และเครื่อง LEONA รุ่น DL-525 เป็นตัวต้นแบบเพื่อให้เพื่อนช่างได้กำหนดแนวทาง และขั้นตอนการซ่อมอย่างถูกวิธี









วงจรการทำงานของระบบถาอดเข้าออก












หลักการทำงาน
คำสั่งของมอเตอร์ที่จะสั่งถาดเข้าออกจะใช้ชื่อคำสั่ง TRAY+ และ TRAY- ซึ่งคำสั่งจะส่งออกมาจาก IC Mpeg2 เบอร์ SPCA8200A ซึ่งจะออกมาจากขา 195 และ 196 ปกติคำสั่งจะมีดังนี้















1. ขณะมอเตอร์หยุด
จาก FOLW จะเห็นว่าการสั่งงานจะมาจาก R161 และ 160 ตำแหน่งนี้ เป็นคำสั่งให้ถาดเข้าออกจากจุดที่ 1 เราต้องดูจังหวะหยุดจะเห็นว่าตำแหน่งไฟทั้ง 2 จุด จะต้องเป็น 0 โวลย์มอเตอร์ต้องสงบนิ่งอยู่ในจังหวะถาดเข้า
2. ขณะถาดกำลังวิ่งออก
เมื่อถาดวิ่งออกเราดู FOLW การทำงานจะเห็นว่าที่ R 161 จะต้องเป็น 0 โวลย์ ส่วนตำแหน่ง R160 จะต้องเป็น 5 โวลย์ เมื่อเป็นคำสั่งนี้มอเตอร์จะหมุนไม่หยุดเพื่อบังคับให้ถาดออกจนกว่าลิมิตสวิทย์จะแจ้งต่อไป
3. ขณะถาดกำลังวิ่งเข้า
เมื่อถาดวิ่งเข้าเรามาดู FOLW จะเห็นตำแหน่ง R 161 จะต้องเป็น 5 โวลย์ มอเตอร์จะหมุนเข้าเรื่อย ๆ จนกว่าถาดจะเข้าสุดเมื่อเข้าสุดแล้วลิมิตสวิทย์ จะแจ้งคำสั่งไปที่ MPEG 2 เพื่อให้มอเตอร์หยุดคำสั่งเป็น 0 โวลย์











การค้นหาในบอร์ดของ LEONA รุ่น DL525 ตัวชิพอุปกรณ์จะเล็กมากท่านต้องใช้ความพยายามให้มากเป็นที่สุดภาพที่ท่านเห็นจะขยายออกมาประมาณ 10 เท่าจึงสามารถเห็นได้ง่าย

หลักการทำงานคำสั่งมอเตอร์เข้า
R161 จะได้รับไฟเข้ามา 5 โวลย์ เป็นผลทำให้ Q26 ทำงานดึงไฟที่มาจาก P+5 โวลย์ ผ่านขา E ของ Q24 ออกสู่ขา C ผ่านลงมาเข้าขา E ของ Q 26 ทำให้คำสั่งโหลด LOAD+ ต่อกับกาวด์กลายเป็น 0 โวลย์ ผลของขา C ที่ลงกาวด์ของ Q24 จะมีผลทำให้ R158 ดึงไฟที่ขา B ของ Q ต่ำลงไปด้วยจึงทำให้ Q23

ทำงานส่งผลทำให้ไฟที่มา 5 โวลย์ ไหลผ่าน Q23 ไปตามหัวลูกศรเข้าสู่คำสั่ง LOAD- ผลทำให้มอเตอร์ได้ไฟ 5 โวลย์ จึงทำให้มอเตอร์หมุนได้

หลักการทำงานคำสั่งมอเตอร์ออก
R160 ได้รับคำสั่งไฟ +5โวลย์ ซึ่งมาจาก IC MPEG 2 จึงทำให้ Q25 ทำงานดึงคำสั่ง LOAD- ลงสู่กราวด์ทำให้ไฟเป็น 0 โวลย์ ส่วนคำสั่งไฟ + ก็จะไหลผ่าน Q 24 เข้าขา E ออกขา C เนื่องจาก Q25 ทำงานจึงเป็นผลทำให้ R 159 ดึงไฟที่ขา B ของ Q24 ลงกาวด์เมื่อ Q24 ทำงานไฟ + ก็จะไหลเข้าขั้วมอเตอร์ LOAD+ ทำให้มอเตอร์หมุนถาดออกมาได้

หลักการสั่งสวิทย์ในการทำงานถาดเข้าออก
การทำงานของสวิทย์จะต้องมีความสอดคล้องเพื่อที่จะให้ระบบซอฟแวร์ได้ทำงานอย่างถูกต้องการทำงานอย่างต่อเนื่องในการเข้าและออก การควบคุมการเบรก ของมอเตอร์วซอฟแวร์จะต้องออกแบบให้แม่นยำ
ขอให้ดูตารางต่อไปนี้


ตำแหน่งขา

ปกติ

ขณะกำลังออก

ขณะกำลังเข้า


TRAY IN

0 โวลท์

3.4

0 > 3.4 โวลท์


TRAY OUT

3.4 โวลท์

3.4 > 0

3.4 โวลท์

จากตารางจะเห็นว่าขณะนี้ถาดปกติ คำสั่ง TRAY IN จะต้องเป็น 0 โวลย์ ซึ่งกรณีนี้เราสามารถหลอกคำสั่ง TRAY IN ตำแหน่งขาของ IC U 1 ให้เป็น 0 โวลย์ ก็จะทำให้เครื่องติดได้และสามารถทำงานได้ทุกอย่าง ถึงแม้ จะไม่มีแคร่มารองรับ
สรุป
การทำงานของระบบทั้งหมดจะต้องรอที่คำสั่งขา TRAY IN อยู่ที่ IC DPU คำสั่งขา 53 ของ U1











ขั้นตอนการวัดมอเตอร์โหลดถาดเข้าออก
ขั้นตอนการวัดมอเตอร์ในการตรวจเช็คเพื่อนที่จะให้ทราบว่าระบบมอเตอร์ นั้นเสียหายหรือไม่เราจะต้องทำการ ตรวจสอบมอเตอร์ให้ได้ก่อนอันดับแรกขั้นตอนการวัดเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ในส่วนที่ 1 นี้ เราจะเริ่มการวัดมอเตอร์ถาดกันก่อน
ขั้นตอนการวัด
1. ให้เราวัดเข้าไปที่ตัวมอเตอร์ถาดที่อยู่ภายในเครื่องได้เลยเพราะไม่ต้องเสียเวลาให้ซ้ำซ้อนโดยการปลดสายพาน ที่ติดอยู่กับมอเตอร์ออกก่อนแต่ต้องให้จังหวะของถาดนั้นออกมาก่อนนะครับเสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็จะเห็นตำแหน่งที่เราจะวัดสังเกตนะครับบางรุ่นจะมีสติ๊กเกอร์แปะปิดเอาไว้










2. ตั้งมิเตอร์เข็มไปที่ Rx1…ทำการปรับ 0 โอห์ม ให้เรียบร้อยการตั้งมอเตอร์ไปที่ Rx1 กระแสไฟจะออกมาจากมิเตอร์ที่ 150 mA ซึ่งมากพอที่จะทำให้มอเตอร์หมุนได้ ระดับหนึ่งเลยทีเดียวขณะที่เรานำมิเตอร์เข้าไปแปะที่มอเตอร์ถาด (TRAY) เข็มมิเตอร์ก็จะกระดกขึ้นสูงแล้วกลับมาอยู่ที่ตำแหน่งประมาณ 180 โอห์ม แล้วมอเตอร์หมุนอย่างต่อเนื่องถ้าเป็นลักษณะนี้ก็ถือว่ามอเตอร์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน มอเตอร์ถาดนั้น ปกติจะเป็นเบอร์ RF-300CA-11440 ก็ฝากให้เพื่อนสมาชิกมอง ๆ ไว้หน่อยนะครับ











ขั้นตอนการวัดขั้นตอนการวัดมอเตอร์สปินเดิ้ล
การวัดมอเตอร์ของรุ่นนี้มีความสำคัญมากอันเนื่องมาจากมอเตอร์สปินเดิ้ลจะต้องหมุนความเร็วสูงซึ่งในระบบ DVD จะมีการควบคุมความเร็วในระบบ CLV ไว้ที่ 4 เมตร/วินาทีเลยทีเดียวซึ่งสูงกว่าระบบ DVD ถึง 3 เท่าตัวท่านไม่ต้องแปลกใจว่าระบบ DVD ทำไมต้องหมุนเร็วขอเสียอีกอย่างหนึ่ง เมื่อเราใส่แผ่น DVD ค้างไว้ในตัวเครื่องแผ่นก็จะหมุนตลอดเวลาเพราะจะต้องเก็บข้อมูลจากแผ่น DVD ไปไว้ในตัวเครื่องเพื่อที่จะให้พร้อมในการเล่นตลอดเวลาเรามาเริ่มต้นขั้นตอนการวัดกันเลยนะครับ
1. ทำการวัดภายในตัวเครื่อง การวัดภายในตัวเครื่องจะมีข้อดีคือไม่ต้องรื้อออกมามากทำให้วิเคราะห์ปัญหาง่าย ขั้นตอนก็มีโครงการเชื่อมสายของขั้วมอเตอร์ออกมาต่อจากนั้นเราก็นำมิเตอร์ตั้งไปที่ Rx1 วัดเข้าไปที่ขั้วมอเตอร์โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงขั้วว่าสีอะไร










ค่าของมิเตอร์ที่จะได้อยู่ประมาณ 180 โอห์มขณะที่มอเตอร์กำลังหมุนต้องขอบอกสมาชิกว่าพลาสติกที่สวมหัวมอเตอร์ยังอยู่ครบขณะที่มอเตอร์หมุนจะต้องไม่มีเสียงดังผิดปกติออกมาอาการเสียที่เกิดขึ้นเมื่อใส่แผ่นแล้วแผ่น
CD จะหมุนเอื่อย ๆ ช้า ๆ เหมือนกันไม่มีแรงเรามาดูลักษณะตัวจริงของมอเตอร์กันนะครับ












การดูเบอร์มอเตอร์สปินเดิ้ล (Spindle Motor)
มอเตอร์สปินเดิ้ลยังคงเป็นปัญหาในการหาซื้อและต้องซื้อมาเก็บเอาไว้ให้มากที่สุดเพื่อนใช้ในการแก้ปัญหาฉะนั้นในบทความนี้ผมก็นำเบอร์ต่าง ๆ มาเทียบเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายดาย














มอเตอร์สปินเดิ้ลที่ท่านเห็นจะมีอยู่ 2 แบบ ด้านซ้ายมือจะเป็นเบอร์ที่ติดมาในเครื่องใช้เบอร์ RF-300CA-11400 ซึ่งจะมีค่า D/V เท่ากับ 3.0 เราสามารถใช้เบอร์ RT-300PA-11440 ซึ่งมี D/V เท่ากับ 5.9 เข้ามาทดแทนได้เลย

เบอร์มอเตอร์สปินเดิ้ลให้พยายามดูความเร็วรอบให้เป็นหลักและสิ่งที่สำคัญก็คือเรื่องแกนมอเตอร์จะมีทั้งแบบสั้นและยาวให้เราเลือกให้เหมือนเดิมมากที่สุดยี่ห้อตราม้าถือว่าสุดยอดที่สุดในขณะนี้














การวัดมอเตอร์เมื่อเราซื้อมาใหม่ ๆ ให้เราทำการวัดลงไปได้เลยซึ่งการวัดจุดนี้ยังคงตั้งมิเตอร์เข็มไปที่ Rx1 เหมือนเดิมของที่ได้เข้ามาเราก็สามารถหยิบมาวัดโดยไม่ต้องคำนึงถึงสีของสายมอเตอร์

















จะเห็นได้ว่าขณะที่มอเตอร์หมุนระดับค่าทานต้านทานจะต่ำลงมาที่ค่าประมาณ 200 โอห์ม การวัดมอเตอร์สปินเดิ้ลถ้ามอเตอร์เสียส่วนใหญ่เข็มจะขึ้นสูง ความต้านทานจะต่ำนั้นหมายความว่ามอเตอร์มีความฝืดทำให้ความเร็วรอบไม่ได้ส่งผลทำให้เกิดอาการ NoDisc แต่ถ้าหากความต้านทานต่ำกว่า 200 โอห์ม ลงมามากก็แสดงว่ามอเตอร์ไม่มีแรง








การใช้งานระบบเสียง
ในการใช้งาน DVD สิ่งที่จำเป็นสำหรับช่าง ก็คือ เรื่องของเทคโนโลยี จะว่ากันแล้วช่างบ้านเราส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสได้เพิ่มเติมความรู้ด้าน DVD มากนัก แต่สิ่งที่บีบบังคับในปัจจุบัน เราจำเป็นจะต้องศึกษาไปภายในตัว การเริ่มต้นที่ดีที่สุดคุณควรซื้อเครื่องเล่น DVD ราคาถูก ๆ มาเล่นให้ชำนาญทุกระบบรับรองว่าคุณจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะมาก
ในการที่จะคุยกับลูกค้าในระบบต่าง ๆ หากเรามีความเข้าใจในตัวสินค้าและสามารถให้ความรู้แก่ลูกค้าได้ก็จะทำให้เราเกิดความมั่นใจและสามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดีคำสั่งต่าง ๆ ที่ช่างส่วนใหญ่มักประสบปัญหาผมจะเรียบเรียงออกมาให้เพื่อนช่าง เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นและสามารถ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดหากคุณเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วคุณไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมเครื่องเล่น DVD จึงมาทดแทนเครื่องเล่น VCD

ระบบแซมปิ้งบิตของ PCM Linear
อัตราแซมปิ้ง
บิต/แซมปิ้ง
แชนแนลและการเรียก
48kHz
16 bit
8 CD เพลงธรรมดา
48kHz
20 bit
6 ชาแนล
48kHz
24 bit
5 หรือระบบHDCD
96kHz
16 bit
4 ชาแนล
96kHz
20 bit
3 ชาแนล
96kHz
24 bit
2 ชาแนล ไฮเอ็น

หมายเหตุ แผ่น HDCD เวลาซื้อเราจะเจอแผ่นเขียนบอก 16+20 BIT ก็ได้

1. ระบบด้านเสียง
การเซ็ตระบบเสียงถือว่าเป็นหัวใจหลักของการต่อระบบDVDแรงจูงใจที่ให้ซื้อ DVD ก็คือเรื่องของคุณภาพเสียงนั่นเอง เราจะต้องเข้าใจระบบนี้ให้ถูกต้องนะครับ
1.1 ระบบเสียง MONO เป็นระบบเสียงที่เป็นพื้นฐานมีลำโพงตัวเดียวอาจรวมซ้ายและขวาไว้ด้วยกัน
1.2 ระบบเสียง สเตอริโอ เป็นระบบเสียงที่มีการแยก Channel ซ้ายขวา ทำงานกันอิสระเป็นที่นิยมแพร่หลายมากที่สุดแม้นกระทั่งปัจจุบันระบบสเตอริโอ ยังครองความเป็นหนึ่งในวงการมาตลอดดังเช่นเครื่องเสียงต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวที่มีลำโพง 2 ข้าง นั่นแหล่ะคือสเตอริโอขนานแท้


1.3 ระบบเสียงโปโลจิก (Prologic)
เป็นการถอดรหัสในระบบโฮมเทียเตอร์ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในระบบนี้ จะเป็นการถอดรหัสระบบอนาลอกโดยใช้สัญญาณเสียง LR มาทำการถอดรหัสให้เป็นระบบ 5.1CH เสียงที่ออกมาจะมีการรั่วข้ามชาแนลการตรวจสอบของระบบนี้เราจะใช้วงจรTest Tone ซึ่งจะปล่อยเสียงซ่าออกมาทั้งหมด 5.1CH ในการใช้งานของระบบโปรโลจิกจำเป็นจะต้องใช้กล่องถอดรหัสออกมาเราเรียกกล่องนั้นว่า DECODDER ซึ่งการถอดสัญญาณโปโลจิกจะใช้สัญญาณ อานาลอก ซึ่งเราเรียกว่าสัญญาณซ้ายขวามาถอดรหัสนั้นเอง การถอดรหัสโปโลจิกจะต้องได้รับการบันทึกของแผ่นหรือม้วนเข้ามาด้วยระบบถึงจะถอดออกได้อย่างสมบูรณ์ จากรูปที่ท่านเห็น ท่านต้องสังเกตให้ดีว่าเป็นระบบโปโรจิกที่เป็นอินพุทป้อนเข้ามาจากภายนอก เช่นเครื่อง DVD แต่นั้นหมายความว่าตัวของเขาเองไม่สามารถมีระบบโปโลจิกได้ การซื้อต้องระวัง
1.4 ระบบ DOLBY DIGITAL หรือเราเรียกว่าระบบ AC-3
เป็นระบบเครื่องเสียงที่ถือกำหนดเป็นมาตรฐานของเครื่องเล่น DVD ที่เราเรียกฟอแมทนี้ว่า MPEG-2 นั้นเองในระบบนี้มีเครื่องเล่น DVD ถือกำเนิดขึ้นมาระบบ AC3 ก็จะเป็นการพัฒนาระบบตามเงามา ด้วยในระบบ CODE รหัสโดยจะมี BIT RATES ในการเข้า Code รหัสอยู่ที่ 48 K bit/SEC โดยมีการแซมปิ้งของ ความถี่เสียง อยู่ที่ 48 Khz 16 bit การถอดรหัสตัวนี้จะมีการพัฒนาชิพอุปกรณ์ถอดรหัสออกมาภาย AC-3 จะมีการเข้า นอกก็ได้โดยผ่านช่อง COAXIAL โดยกำหนดช่องสัญญาณเป็นสีส้มการปล่อยสัญญาณดิจิตอลออกมาเรียกว่า SPDF ซึ่งเป็นระบบสัญญาณแสง






1.5 ระบบ DTS (DIGITAL THEATRE SYSTEM)
เป็นระบบที่สมบูรณ์ที่สุดในขณะนี้ซึ่งจะให้เสียงสมจริง สมจัง และมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้ระบบเสียงได้มีความได้มีความสมจริงสมจังมากที่สุด








การพัฒนาระบบ DTS ในจุดเริ่มต้นของระบบ DTS จะอยู่ที่ 912 K bit/SEC ซึ่งจะมีความละเอียดมากกว่าระบบ AC-3 ผลเสียงออกมาจึงทำให้เต็มอิ่มคุณภาพเสียงดีกว่า สิ่งสำคัญระบบเสียงนี้จะต้องได้รับการบันทึกจากแผ่นเท่านั้น
ในระบบ DTS ยังแบ่งแยกย่อยให้สำหรับผู้บริโภคที่มีเงินเยอะ โดยเพิ่มของเล่นแบบสะใจมาให้อีก 2 อย่างคือ
1. DTS ES เป็นการปล่อยรหัส DTS ออกมาโดยเพิ่มเซอรราวหลังอีกตัวหนึ่งซึ่งทำให้ความรู้สึกในการชมภาพยนตร์ได้มีความรู้สึกมากยิ่งขึ้นเราเรียกว่า 6.1 CHANAL
2. DTS EX เป็นการปล่อยรหัส DTS ออกมา โดยเพิ่มเซอราวทั้งหน้าและหลังปล่อยออกมาทั้งหมด 7.1 CHANAL เป็นการใช้งานของระบบการเข้ารหัสอย่างเต็มที่แน่นอน ทั้งเครื่องเล่นและแผ่นที่บันทึกราคาจะจัดอยู่ว่าแพงมากเลยทีเดียว....วาสนาหูเน่า ๆ อย่างพวกเราคงมีโอกาสได้ฟังลำบากแต่เชื่อเถอะว่าสักวันหนึ่ง มันจะมาตายที่โต๊ะซ่อมของเรานั้นแหละ จริงไหมครับท่าน

ปัญหาของช่างก็คือใช้งานไม่เป็น ไม่สามารถพูดระบบต่าง ๆ ได้จึงทำให้ปัญหาที่ตามมาคือลูกค้าขาดความเชื่อมั่น ฉะนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาให้ชำนาญให้มากที่สุดปัญหา ส่วนใหญ่เครื่อง DVD จะมีการถอดรหัสแค่ระบบ AC-3 แต่เราไม่รู้จักแต่ไปเลือกซื้อแผ่น DTS มาใช้งานจึงทำให้เห็นภาพไม่มีเสียง















1.6 ระบบ SACD
เป็นระบบเสียงที่ได้รับการคิดค้นพัฒนาและบันทึกออกมาเป็นพิเศษซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลมาในรูปแบบใหม่ซึ่งการพัฒนานี้จะเป็นการร่วมมือระหว่างบริษัทฟิลลิปส์กับบริษัทโซนี่หากจะเล่นระบบนี้แล้วท่านจะต้องซื้อแผ่นของระบบ SACD ที่มีราคาแพงเข้ามาฟังและแน่นอนไม่ใช่คาราบาวร้องหรือจะเป็นน้องมายด์ ก็หากไม่แต่เป็นฝรั่งลูกเต้าเหล่าใครก็ไม่รู้ที่เราจะฟังต่อไป
1.7 ระบบ DVD AUDIO
เป็นอีกระบบที่มาแรงมากพอที่จะทำให้ SACD ตกขอบไปได้เพราะเนื่องจากระบบ DVD AUDIO จะเป็นการรวม บิสตรีมเพื่อออกมาเป็นงานเพลงโดยตรง โดยใช้เส้นทางของ DTS ซึ่งระบบนี้กำลังแพร่หลายและแผ่นราคาก็ไม่แพงเชื่อว่าอีกไม่นานก็จะโผล่ขึ้นมาอีกมากมายเลยทีเดียว













ในระบบบ้านเสียงที่กล่าวมาวันนี้นายช่างทั้งหลายได้รู้สึกอะไรบ้างเวลาลูกค้าคุยกับเราและเราไม่รู้เรื่องเลย ถามว่าวันนี้จะได้ซ่อมเครื่องของเขาหรือไม่ ต้องศึกษากันต่อไป








คุณสมบัติและการใช้งาน เครื่องเล่น ดีวีดี ที่ช่างทุกท่านจะต้องรู้
การที่เราเป็นช่างซ่อมเครื่องเล่นประเภท ดีวีดี แต่บางทีขาดความรู้ความสามารถในการที่จะแก้ปัญหาและวิธีในการแนะนำลูกค้าอันเนื่องจากตัวนายช่างเองยังใช้งานไม่เป็น และปุ่มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ก็ไม่ศึกษาเพิ่มเติมจึงส่งผลทำให้การซ่อมดีวีดีไม่ค่อยสนุกเท่าที่ควร ดังนั้นผมเลยจัดพิมพ์ข้อมูลออกมาเพื่อให้นายช่างได้ศึกษาข้อมูลจากจุดนี้ของหนังสือ และนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง ศัพท์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นก็ขอให้หมั่นท่องจำเพื่อที่จะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์มากที่สุด
ข้อควรระวังในการใช้เครื่องเล่นดีวีดี
อย่าวางเครื่องเล่นดีวีดีในสถานที่ต่อไปนี้
1.ในที่โดนแสงแดดหรือมีที่ความร้อนสูงเช่นใกล้ ๆ เครื่องทำน้ำร้อน หรือเตาอบหรืออุปกรณ์อื่น ๆ
2.วางบนอุปกรณ์ที่มีความร้อน
3.ที่ระบายความร้อนไม่ดีหรือสกปรก , ความชื้นสูง ที่ไม่มั่นคงหรือสั่นสะเทือนหรือในที่มีฝนสาดหรือน้ำกระเด็น
4.ใกล้ลำโพงที่มีตู้ขนาดใหญ่หรือบนขาตั้ง ลำโพงเก็บเครื่องเล่นให้ห่างจากการกระทบกระเทือน
5.อย่าเล่นกับแผ่นดิสก์ที่รอยขีดข่วน แตกหรืองอ
ข้อควรระวังการใช้แหล่งจ่ายพลังงาน
6.เครื่องเล่นนี้ต้องการใช้ไฟฟ้าระดับ 220 โวลย์
7.เมื่อไม่ได้มีการใช้เครื่องเล่นเป็นเวลานาน ๆ ควรจะดึงปลั๊กออกจากเต้ารับไฟ
8.เพื่อการใช้งานที่ยาวนาน ไม่ควรสับเปลี่ยนระหว่างเปิดเครื่องและปิดเครื่องทันที ควรจะให้ห่างกันระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 วินาที

คุณสมบัติหลักของเครื่องเล่นดีวีดี
1.รองรับกับทุกฟอร์มแมต DVD, HDCD , SVCD , VCD , MP3 , CD-R และ CD-RW พร้อมด้วยระบบแก้ไขข้อมูลแม้แผ่นเป็นรอยก็สามารถเล่นได้
2.อ่านไฟล์ภาพ JPEG หรือแผ่น PICTURE CD
3.ประมวลผลภาพแบบดิจิตอล 10 บิท ให้ความคมชัดสูงมากกว่า 500 เส้น
4.D/A Converter แบบ 24 bit/96 KHz ให้คุณภาพเสียงไฮไฟระดับ Professional
5.สัญญาณภาพแบบ Component , S-Video Composite และสัญญาณเสียงดิจิตอล มีให้เลือกแบบ Optical และ Coaxial
6.เสียงพูดบรรยาย 8 ภาษา และคำบรรยายใต้ภาพ 32 ภาษา รวมถึงสามารถเล่นภาพแบบหลายมุมมองกล้อง
7.เลือกภาพต่าง ๆได้บนจดทีวี
8.ระบบดิจิตอลคาราโอเกะพร้อมฟังก์ชั่นตัดเสียงร้อง
9.ฟังก์ชั่นอัพเกรดอันชาญฉลาดเต็มรูปแบบ
10.ฟังค์ชั่นโปรเกรสซีพสแกน 96 Khz/24bit Digital/Analog (D/A) Converter
11.ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยร่วมกันแผ่นที่อัตรา การสุ่มสัญญาณ 96 KHz (สูงมากกว่า Cd 2 เท่า ) และมีข้อมูล 24 bit เพื่อคุณภาพเสียงที่ดีโดยปราศจากความผิดเพี้ยน

สัญญาณเสียงขาออกแบบดิจิตอล
ผู้ใช้สามารถเสียงต่อสายแบบ Coaxial หรือ Optical เข้าสู่เอวีแอมปลิไฟเออร์แบบ 6 แชนแนล ที่มีระบบ Dolby Digital MPEG หรือ DTS เพื่อประมวลเสียงเซอร์ราวด์โดยใช้สายเพียงเส้นเดียว
สัญญาณภาพขาออกแบบ Component
สัญญาณภาพขาออกแบบ Component(Y , Cr, CB) จะทำให้ได้ภาพที่สะอาดสดใสโดยปราศจากสัญญาณรบกวนระบบถอดสัญญาณคู่ Dolby Digital และ DTS เครื่องรุ่นนี้สามารถปล่อยสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล Dolby Digital และยังสามารถปล่อยสัญญาณเสียงแบบอนาล๊อค 6 แชนแนล แบบ Dolby Digital และ DTS ได้อีกด้วย


















บลูเลเซอร์ ดิสก์
สิ่งที่จะก้าวเข้ามาทดแทนในระบบของ CD และ DVD แบบเดิม ๆ ซึ่งในอนาคตอันใกล้ก็คงประมาณ เกือบ ๆ 5-8 ปี ก็น่าจะเข้ามาทดแทนได้ทั้งหมด ซึ่งถ้าเรามองไปที่ประเทศที่ประเทศญี่ปุ่น หรือ ใต้หวัน ก็จะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของระบบ VCD หรือ DVD ก็ได้มีการพัฒนาถึงจุดสูงสุด แล้วเข้าสู่ยุคของระบบ บลูเลเซอร์ ดิสก์นั้นเอง
ทุกวันนี้ ระบบข้อมูลทางด้านภาพแล้วเสียงและอื่น ๆ อีกมากมายมีการจัดเก็บในรูปแบบมากมายไม่ว่าจะเป็นระบบ เทปแม่เหล็ก และระบบแผ่นดิสก์รวมทั้งการบันทึกลงแฟลตไดรฟ์แต่การบันทึกระบบภาพแล้วเสียงที่มีราคาถูกที่ใช้งานง่ายก็คงไม่พ้นระบบดีวีดี ที่นิยมกันมากที่สุด วันนี้จะพาให้ได้มารู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ ที่เราเรียกว่า
บลูเลเซอร์ดิสก์ Blu-ray-Disc ซึ่งสามารถบันทึก
ข้อมูลได้มากกว่าหลายเท่าตัว และจะเป็นตัวที่ทำให้อนาคตข้างหน้าเกิดการเปลี่ยนแปลง

ต้นกำเนิดของบลูเลเซอร์ (Blu-Ray-Disc-BD)
การพัฒนาและการนำเทคโนโลยีของประเทศไทย ได้มีการนำข้อมูลของระบบเลเซอร์ดิสก์เข้ามาใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ที่ให้ทั้งภาพและเสียงคมชัด ซึ่งอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า DVD (Digital Video Disc) เพื่อใช้ในการบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเสียง หรือการชมภาพยนต์ได้อย่างสมบูรณ์แบบและได้ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกำเนิดมาเป็น บลูเรย์ดิสก์ ซึ่งจะเป็นคำย่อของระบบบลูเลดิสก์นั่นเอง ซึ่งการเก็บข้อมูลสามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหว แล้วระบบเสียงที่มีความชัดสูงมาก โดยเฉพาะด้านดิจิตอล
การพัฒนาจุดร่วมขององค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะมีมากกว่า 100 องค์กร ทั่วโลกได้มีการประกาศที่จะพัฒนาและผลักดัน ให้เป็นจุดศูนย์รวมกลางในการนำเทคโนโลยี บลูเลดิสก์มาเป็นจุดสูงสุด




องค์กรต่าง ๆ ที่ร่วมกันพัฒนาเราสามารถเห็นยี่ห้อก็พอรู้ ๆ กันอยู่แล้วโดยเฉพาะแถบเอเชียของเรา อันได้แก่โซนี ชาร์ปา ซัมซุง ฟิลลิปส์ ไพโอเนีย ฮิตาซิ JVC พานาโซนิค และ LG เป็นต้น ยังมีองค์กรอีกมากที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้ ที่ร่วมกันพัฒนาให้ได้คุณสมบัติทั้งเรื่องและบันทึกพร้อมกัน
ที่มาของชื่อบลูเลเซอร์ การตกลงทางการค้า ยังเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาสินค้า ต้องสอดคล้องทั้ง 2 ส่วนให้เหมือกัน ปัจจุบันความจุของแผ่น DVD ที่สามารถบันทึกได้ด้านเดียวที่เราเรียกว่า Single sided ซึ่งความจุของด้านเดียวจะมีความจุ 4.7 Mb และสามารถบันทึกระบบหนังได้ต่อเนื่อง 2 ชม. แต่นั่นหมายความว่าความจุที่เกิดขึ้นจะต้องถูกถ่ายทอดออกมาตั้งแต่ต้นจนปลายได้อย่างเหมาะสมความสามารถในการบันทึกก็ยังสามารถทำได้โดยใช้เวลาถึง 2 ชม. กว่า ๆ เลยที่เดียว แต่ระบบบลูเลดิสก์ จะต้องนำมาปรับปรุงให้ถ่ายทอดออกมาทั้งระบบภาพและเสียงได้ถึง 5 เท่า และสิ่งที่สำคัญก็คือเรื่องของราคาหากระบบบลูเลเซอร์ อีกประมาณ 5 ปี ข้างหน้าที่ไม่มีการพัฒนาจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของราคาเป็นตัวแปรที่สำคัญ

รูปแสดงการเปรียบเทียบความจุข้อมูลของระบบ บลูเรย์ดิสก์















บลูเรย์ดิสก์มีความสามารถในการบันทึกและการเล่นกลับของข้อมูลภาคและเสียงที่มีความคมชัดสูงรวมไปทั้งการจัดเก็บข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์หรือไฟล์ต่าง ๆ ที่สำคัญราคาประหยัดสำหรับต้นทุนของแผ่นที่ใช้ในการเล่นและบันทึกเรามาดูเลเยอร์ ของระบบลูเลดิสก์กันดีกว่าครับ
1. Single layer Blu ray disc แบบข้อมูลชั้นเดียว
มีแผ่นขนาดเท่ากับ ดีวีดี แต่สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 27 Gb ซึ่งมีความจุสูงมากทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ ในระบบที่เล่นได้ตามปกติได้ถึง 13 ชม. แต่ถ้าเป็นระบบความคมชัดสูงก็จะได้ถึง 2 ชม.
2. Double layer Blu ray Disc แบบข้อมูล 2 ชั้น
จะทำหน้าที่เหมือนกับชั้นเดียวที่มีความจุถึง 2 แผ่นโดยมีความจุ 54 Gb ซึ่งสามารถระบบหนังตามปกติได้ถึง 26 ชม. เลยทีเดียวและยังสามารถเล่นแบบความละเอียดสูงได้ประมาณ 4 ชม. หรือมากกว่า
การพัฒนาของระบบ บลูเลดิสก์ยังจะพัฒนา ให้มีความจุมากกว่านี้เนื่องจากว่าต้นทุนในการผลิต เป็นตัวแปรที่สำคัญที่ผู้บริโภคสามารถนำเข้ามาได้ทันทีความจุของบลูเลดิสก์ มีความจุมากกว่า DVD เป็นอย่างแน่นอน แต่การทำงานยังเป็นรูปแบบ Inter Active นั้นหมายความว่าสามารถตอบโต้กับผู้ใช้งานได้ตลอดเวลาในการเชื่อมโยงทางอินเตอร์เน็ต
ข้อดีของบลูเรย์ดิสก์
1. สามารถบันทึกหนังระบบความคมชัดสูงได้อย่างละเอียดโดยไม่มีการสูญเสียคุณภาพของภาพและเสียง
2. สามารถค้นหาข้อมูลบนแผ่นดิสก์ได้เร็วกว่าปกติอย่างรวดเร็ว
3. สามารถเปิดโปรแกรมการทำงานในระบบ Inter Active หลายอย่างพร้อมกัน
4. สามารถเขียนและอ่านข้อมูลได้พร้อมกัน
5. สามารถตัดต่อระบบต่าง ๆ ของมัลติมีเดียที่บันทึกไว้บนดิสก์ได้
6. มีระบบการค้นหาพื้นที่ว่างบนแผ่นบลูเรย์ดิสก์ได้อย่างอัตโนมัติ
7. มีระบบเข้าเว็บไซต์เพื่อดาวน์โหลดซัฟไตเติ้ล Subtitle และ Bonus features ซึ่งเป็นแบบ Inter Active ได้ตลอด

ทฤษฎีของ การทำงานบลูเลดิสก์
การทำงานของระบบดิสก์จะทำการบันทึกภาพและเสียงที่เข้ารหัสเรียบร้อยแล้ว เอาไว้ในหลุม Pit แล้วจะวนเป็นวงกลม ๆ ซึ่งเราเรียกว่า Trainstation ซึ่งมีการบันทึกเป็นแบบก้นหอย ซึ่งระบบเลเซอร์จะทำการอ่านจากแสงสะท้อนของหลุมเหล่านี้ เพื่อที่จะทำให้การเล่นข้อมูลที่บันทึกไว้นำมาใช้งานตามหลักการ CD และ VCD DVD รวมทั้งบลูเรย์ดิสก์




















เทคโนโลยีของการบันทึกข้อมูลที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่เราเรียกว่า CD-R (Cd-Recordable) จะใช้แสงเลเซอร์สีแดงในการอ่านแล้วบันทึก ซึ่งจะต่างจากแสงสีน้ำเงิน ทีเราเรียกว่าบลูเลดิสก์นั่นเอง เรามาดูความยาวของคลื่นระหว่างดีวีดีและบลูเลดิสก์ดันดีกว่า
1. บลูเลดิสก์แสงสีน้ำเงิน มีความยาวคลื่น 405 นาโนเมตร
2. เรดเลเซอร์แสงสีแดงมีความยาวคลื่น 650 นาโนเมตร
จากข้อมูลจะเห็นว่าการพัฒนาของลำแสงในการอ่านหลุมข้อมูลจะลดลงมาเหลือเพียง 0.15 ไมคอน ทำให้มีหลุมข้อมูลเล็กกว่า DVD ถึง 2 เท่าตัว
การลดระยะของระบบ ระหว่างแทรค Track pitch จากเดิมที่เป็นของเรดเลเซอร์จะอยู่ที่ 0.74 ไมคอน ระบบ บลูเลดิสก์ ก็จะพัฒนาลงมาที่ 0.32 ไมคอน เลยทีเดียวจึงทำให้หลุมข้อมูลเล็กลงมาก การบรรจุข้อมูลจึงได้มากขึ้นโดยเฉลี่ยแล้วจะได้เท่ากับ 5 เท่าของแผ่น DVD ปกติเลยทีเดียว





























รูปการเปรียบเทียบหลุมข้อมูลของลำแสงเลเซอร์ทั้ง 2 ชนิด

ความหนาของแผ่น DVD จะมีความหนา ปกติ คือ 1.2 มิลลิเมตร ซึ่งรูปแบบของ บลูเลดิกส์ก็จะมีขนาดเท่ากันโดยแผ่น DVD ชั้นของข้อมูลจะถูกประกบแผ่นพลาสติกที่เราเรียกว่า โพลีคาบอนเน็ต Polycarbonate โดยมีความหนาแต่ละด้านเพียง 0.6 มิลลิเมตร ชั้นของโพลีคาบอนเน็ต ปกติแล้วปัญหาที่จะเกิดขึ้นที่เราเรียกว่า ไบรีฟริงเจนซ์ Birefringgence ซึ่งผมจะเรียกมันว่า มุมหักเหของแสงนั้นเองช่วงรอยต่อและประกบจะส่งผลทำให้การหักเหของลำแสงที่แตกต่างกันเมื่อคลื่นแสงเดินผ่านตัวกลางที่เรียกว่า แคลไซต์ หรือควอตซ์ไบรีฟริงเจนซ์ หรือเราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขบวนการ Double refraction ซึ่งทำให้แสงสะท้อนจากชั้นโพลีคาบอนเน็ตจะถูกแยกออกเป็น 2 ลำ หากลำแสงถูกสะท้อนเบี่ยงออกไปมากจะส่งผลทำให้ไม่สามารถอ่านระบบดิสก์ได้ ส่วนอีกปัญหาจะเป็นเรื่องผิว DVD ไม่เรียบลักษณะเป็นลูกคลื่นทำให้แสงสะท้อนไม่ได้ตั้งฉากกับหัวอ่านหรือเราเรียกว่าแผ่นเอียงนั้นเองซึ่งปัญหาเหล่านี้จะถูกแก้ไขโดยระบบ บลูเลดิสก์ ไว้ทั้งหมดแล้ว
ระบบบลูเลดิสก์แก้ไขปัญหาของระบบเดิมที่ใช้งานอยู่ ของดีวีดีโดยการนำชั้นโพลีคาบอนเนต มีความหนา 0.6 มิลลิเมตร วิธีการของบลูเลดิสก์จะทำการวางชั้นข้อมูลที่อยู่บนชั้นโพลีคาบอนเนตโดยความหนาจะเท่ากับ 1.1 มิลลิเมตรและจะเคลือบสารป้องกันข้อมูล ซึ่งมีความหนาเพียง 0.1 มิลลิเมตร การเคลือบผิวหน้าชั้นข้อมูลเพื่อป้องกันรอยขีดข่วนรอยนิ้วมือที่จะเกิดขึ้นโครงสร้างแบบนี้จะทำให้ป้องกันปัญหา ไบรีฟริงเจนซ์และปัญหาการอ่านต่าง ๆ ลดลงได้เนื่องจากข้อมูล
อยู่ใกล้ตำแหน่งเลนซ์หัวอ่าน จึงทำให้การอ่านข้อมูลแม่นยำยิ่งขึ้น ส่วนปัญหาเรื่องแผ่นเอียงซึ่งเกิดขึ้นบนพื้นผิวก็จะหมดไปด้วย เพราะชั้นของข้อมูลใกล้กว่าพื้นผิวแผ่นมากกว่าเดิมการเบี่ยงเบนลำแสงจึงลดน้อยถอยลงฉะนั้น ปัญหาเรื่องผิวเป็นรูปคลื่นจึงไม่เป็นผลต่อบลูเลดิสก์
การผลิตแผ่น DVD ในระบบเดิมจะต้องขอบอกว่าเป็นการนำโพลีคาบอนเนตมาประกบกัน 2 ชั้น ลักษณะเหมือนกับการทำแซนวิสนั้นเอง แต่ถ้าเป็นบลูเลดิสก์จะทำการฉีดโพลีคาบอนเนตความหนา 1.1 มิลลิเมตร แล้วฉาบข้อมูลลงไปตามด้วยสารป้องกันรอยขีดข่วนอีกครั้งหนึ่งจึงเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่งด้วย
การส่งข้อมูลของระบบบลูเลดิสก์สามารถส่งได้มากกว่า 3.6 เมกะบิตต่อวินาทีซึ่งปกติ DVD ธรรมดาจะส่งข้อมูลที่ 10 เมกะบิดต่อวินาที จึงทำให้การทำงานของบลูเลดิกส์ สามารถทำได้เร็วมากกว่าเรามาดูข้อกำหนดของบลูเรย์ดิกส์ดีกว่า
1. บลูเรย์ดิกส์เวอร์ชั้น 1.0 หรือเรียกว่า 1 x มีการส่งข้อมูลที่ 36.5 เมกะบิด
2. บลูเลเซอร์ดิสก์เวอร์ชั้น 2.0 สามารถส่งข้อมูลได้เร็วประมาณ 2x (กำลังพัฒนา) การพัฒนาบลูเลดิสก์ยังจะก้าวเข้าสู่ 4x 8x 16x ตามลำดับ
การเปรียบเทียบข้อมูลของส่วนต่าง ๆระหว่างแบบชั้นเดียวและแบบ 2 ชั้น เราก็ต้องดูตารางควบคู่ไปด้วย

รูปแบบ
ความจุข้อมูล
แบบชั้นข้อมูลเดียว
23.3 Gb
25 Gb
27 Gb
แบบสองชั้นข้อมูล
46.6 Gb
50 Gb
54 Gb

แนวโน้มอนาคตของบลูเรย์ดิสก์ จะมีการพัฒนารูปแบบของแผ่นในรูปแบบมัลติเลเยอร์ Multi-layer เพื่อให้ข้อมูลมากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงการจัดเก็บข้อมูลอย่างมหาศาล
รูปแบบของบลูเลดิสก์
ฟอร์แมตหรือรูปแบบของบลูเลดิสก์จะต่างกัน VCD และ DVD ซึ่งจะอ่านได้เพียงอย่างเดียวและต่อมาก็มีการพัฒนาในการเขียนและอ่านได้ และยังสามารถลบข้อมูลได้ระบบบลูเลดิสก์ก็ได้ทำการพัฒนารูปแบบออกมาดังนี้
1. BD-ROM (Read-Only) ใช้กับการจำหน่ายระบบซอฟแวร์ของเกมหรือภาพยนต์
2. DB-R (Recordable) ใช้ในด้านเก็บข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์
3. DB-RW (Rewritable) ใช้ในด้านข้อมูลคอมพิวเตอร์
4. BD-RE (Rewritable) ใช้ในด้านบันทึก HD-TV ความละเอียดสูง





















ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ HD-DVD
HD-DVD เป็นดิสก์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เราเรียกว่า AOD (Advance Opitcal Disc) ได้รับการพัฒนาจากโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ โดยที่ปุ่มบริษัทที่สนับสนุน Toshiba , NEC, Paramount Picture Universal Studio และอื่น ๆ อีกมากมายได้ถูกพัฒนาร่วมกับดีวีดีแต่ยังไม่ได้พัฒนาอย่างจริงจังจนปี 2003 ได้มีการพัฒนาเพื่อให้ทันคู่แข่งโดยบลูเลดิสก์ โดย HD-DVD มีแผ่นจะปล่อยออกมาประมาณปลายกันยายน 2005 นี้
ข้อดีของ HD-DVD คือจะมีรูปแบบพื้นฐานเหมือนกับ DVD ทุกอย่าง ผู้ผลิตได้ทำการประหยัดต้นทุนการผลิตโดยใช้เครื่องผลิตแบบเดิมส่วนข้อเสียจะมีความจุสู้บลูเลดิสก์ไม่ได้ HD-DVD แบบเขียนกลับชั้นได้เป็นแบบข้อมูลเดียวเราเรียกว่า Single layer สามารถเก็บข้อมูลได้ที่ 20 Gb ต่อ 1หน้าแต่ถ้าเป็นข้อมูล 2 ชั้น สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 30 Gb เลยทีเดียว ข้อเสียของ HD-DVD คือไม่สามารถทำงานเป็นรูปแบบ Inter Active ได้นั้นเอง

ข้อมูลคู่แข่งรายอื่น ๆ ที่จะขึ้นมาทดแทนระบบ DVD
บลูเรย์ดิสก์ และระบบ HD-DVD ในปัจจุบันนี้ได้ประกาศตัวยึดของตลาดแต่ก็ยังมีระบบอื่น ๆได้มาพัฒนาระบบขึ้นมาเอง อย่างเช่นบริษัท วอร์นเนอร์บราเธอร์พิกเจอร์ได้ทำการพัฒนาระบบ HD-DVD-9 ระบบนี้จะมีอัตราการบีบอัดข้อมูลสูงกว่าปกติทำให้บันทึกภาพยนต์ ความคมชัดสูงได้ถึง 2 ชม. ในแผ่น DVD มาตรฐาน













ส่วนทางใต้หวัน ได้สร้างระบบ FVD (Forward Versatile Disc) เป็นการพัฒนาขึ้นมาจากปัจจุบันโดยได้พัฒนาความจุข้อมูลโดยจะให้ความจุถึง 5.4 GB ในหน้าด้านเดียว เมื่อรวมกัน 2 ด้านก็จะได้ถึง 9.8 Gb
ทางด้านประเทศจีนก็ได้เปิดตัว EVD (Enhanced Video Disc) ซึ่งได้บันทึกข้อมูลภาพยนตร์ความคมชัดสูงอีกแบบหนึ่งและยังมีเทคโนโลยี บลูดิสก์ สำหรับระดับมืออาชีพอออกมาอีกครั้ง อาทิเช่น ของค่ายโซนี่ได้พัฒนา XDCAM และโปรดาต้า (Prodata)

แผ่นความจุ 500 Gb ความจริงที่ใกล้ตัว











ดูเหมือนว่าดิสก์ที่มีความจุ 25 ถึง 54 GB ของบลูเลดิสก์ก็นับว่ามากแล้ว แต่บริษัท Pioneer กำลังพัฒนา T 3 ซึ่งเป็นแผ่นความจุมากกว่าฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในเครื่อง PC ปัจจุบันมีความจุถึง 500 Mb ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ยังเป็นคำถามที่น่าสงสัย ส่วนคำตอบของไพโอเนีย คือจะเลือกใช้เลเซอร์ที่อยู่ในย่านอุลต้าไวโอเลต (UV) มีความยาวคลื่นสั้นกว่าบลูเลดิสก์เพื่อเพิ่มความจุของข้อมูล

ข้อเปรียบเทียบ
BD
BD
DVD
DVD
ความจุ
25 GB
50 GB
4.7 GB
9.4 GB
จำนวนชั้นข้อมูล
ชั้นเดียว
2 ชั้น
ชั้นเดียว
2 ชั้น
ความยาวคลื่น
405 นาโน
405 นาโน
650 นาโน
650 นาโน
ค่า NA
0.85
0.85
0.6
0.6
ความหนาของชั้นป้องกัน
0.1
0.1
0.6
0.6
การส่งข้อมูล
54 เมกะบิด/S
54 เมกะบิด/S
11.1เมกะบิด/S
11.1 เมกะบิด/S
การบีบอัดภาพเคลื่อนไหว
Mpeg2, Mpeg4
Mpeg2, Mpeg4


ตารางแสดงการเปรียบเทียบข้อมูลแบบต่าง ๆ

ข้อเปรียบเทียบ
BD
BD
HD-DVD
HD-DVD
ความจุ
25 GB
50 GB
15 GB
30 GB
จำนวนชั้นข้อมูล
ชั้นเดียว
2 ชั้น
ชั้นเดียว
2 ชั้น
ความเลเซอร์
450 นาโน
450 นาโน
450 นาโน
450 นาโน
ค่า NA
0.85
0.85
0.65
0.65
อัตราการส่งข้อมูล
54 GB/S
54 GB/S
36.5 GB/S
36.5 GB/S
การบีบอัดข้อมูล
Mpeg2, Mpeg4
Mpeg2, Mpeg4
Mpeg2, Mpeg4
Mpeg2, Mpeg4

ข่าวสารความก้าวหน้าของ บูลเรย์ดิสก์
ทางบริษัทมีแผนที่จะเริ่มการผลิตในไตรมาสแรก คือ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2006 โดย BW 1000 สามารถไรท์ด้วยความเร็ว 2x สำหรับดิสก์แบบ Blu-ray single-layer และ DL (single-sided double-layer), 12 x สำหรับ DVD+R/-R, 4x สำหรับ DVD+R/-R DL, 4x สำหรับ DVD+ RW, 32x สำหรับ CD-R และ 24x สำหรับ CD-RW สำหรับความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 2x สำหรับ Blu-ray, 12x สำหรับ DVD และ 32x สำหรับ CD สำหรับ single-layer Blu-ray นั้นจะมีความจุที่ 25 GB ขณะนี้ DL นั้นจะมีความจุที่ 50 GB บันทึกและเล่นร่วมกับสื่อ optical disc 3 รูปแบบ อันได้แก่ HD-DVD , CD และ DVD โดยบริษัทมีการเตรียมแผ่นพัฒนา Blu-ray disk drive แล้ว ซึ่งต้นแบบถูกจัดแสดงที่งาน Consumer Electronic show ณ ประเทศอเมริกา อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีให้เห็นแน่นอนประมาณกลางปี 2005










Philips ยังเผยอีกว่าเทคโนโลยี Blu-ray บน Optical disk drive เป็นการออกแบบที่สามารถเข้ากันได้ของดิสก์ 3 รูปแบบ ผ่านลำแสง 3 ตัวในไดรฟ์เดียวโดย Blu-ray จะมีความยาวคลื่นที่สั้นกว่าจึงสามารถอ่านและเขียนในพื้นที่บิตเล็ก ๆบนดิสก์ได้ดีกว่า
สำหรับดิสก์ประเภท Blu-ray สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 50 GB (double-layer) จึงเหมาะสำหรับบริษัททำภาพยนตร์ในการเก็บความละเอียดของหนังที่มีความยาวมาก ๆ ด้วยดิสก์เดียวอย่างสบาย















สงครามฟอร์แมตแห่งอนาคตยังไม่จบง่าย ๆ
หลังจากเราผ่านสงครามฟอร์แมตวิดีโอ (VHS vs BetaMax) ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของ BetaMax ยุคถัด ๆ มาเราก็ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้อีก ( CD , DVD) แต่แผ่นดิสก์ยุคหน้ามันจะไม่ใช่อย่างนั้นแล้วครับ ทาง Blognone ได้รายงานงานเกี่ยวกับสงครามของฟอร์แมต Blu-ray (BD-ROM) กับ HD-DVD หลายครั้งแล้วและคราวนี้เป็น Blu-ray ที่ได้พันธมิตรเพิ่มคือ Universal Music และ Lion-Gate Entertainment